ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคของผู้สูงอายุไปปฏิบัติในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไก และกระบวนการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม และศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคของผู้สูงอายุไปปฏิบัติในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยจากเอกสาร และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กลไก และกระบวนการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคของผู้สูงอายุไปปฏิบัติมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับกระทรวงและระดับท้องถิ่น ที่มีปัญหาในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุเพราะเป็นการทำงานแบบแยกส่วนขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและมีความซ้ำซ้อน 2) ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุไปปฏิบัติในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ภาพรวมการดำเนินงานเป็นไปตามหลักความเสมอภาค โดยมีการจัดสวัสดิการทั้งในด้านสุขภาพอนามัย ด้านนันทนาการ ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ และด้านการมีสังคมและชุมชน ทั้งนี้การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นไปตามหลักความเป็นธรรมทางสังคมและควรคำนึงถึงความสามารถของผู้สูงอายุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Durongrittichai, V., S. Sanviengjan and M.C.C. Perez. 2022. Social welfare system development for disparity aging in order to decrease social inequality in sub-district rural areas, Thailand: From the preliminary model to the extended area. Interdisciplinary Research Review 17(2): 14-20.
Faimuenwai, R., N. Kimsungnuen and K. Rueanrudipirom. 2021. The elderly care model: The answer is the community health system. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health 44(3): 11-22. (in Thai)
Jensantikul, N. 2021. Elderly welfare management of local administrative organizations: A literature review. Interdisciplinary Studies Journal 21(2): 254-266. (in Thai)
Jensantikul, N. and S. Aimimtham. 2023. Governmental practice guidelines for providing appropriate social welfare for the elderly in Thailand. GMSARN International Journal 17(2): 163-169.
Junthothai, D. 2020. Ageing society management: Lessons learned from Japan. CRRU Law, Political Science and Social Science Journal 4(1): 159-182. (in Thai)
Khon Kaen Provincial Social Development and Human Security Office. 2022. Social situation report of Khon Kaen province for the year 2022. Provincial Social Development and Human Security Office, Khon Kaen. (in Thai)
Kumhom, R. and L. Sombat. 2018. Alternative social welfare model for older persons: Decreasing social inequality. Journal of Thai Interdisciplinary Research 13(6): 44-54.
Salapsri, S. and P. Wattanapongsiri. 2022. The analysis of Thai elderly pension policy. Journal of Social Science Panyapat 4(3): 253-262. (in Thai)
Sudsomboon, S. 2014. Social welfare for aging people in Thailand. Journal of Southern Technology 7(1): 73-82. (in Thai)
Sumalai, T. and B. Singkaneti. 2023. The problems of elderly care protection by Thai law: A case study of elderly health care service under the National Health Security Act. Law and Local Society Journal 7(1): 1-20. (in Thai)
Wang, Y. and P. Luo. 2022. Exploring the needs of elderly care in China from family caregivers’ perspective via machine learning approaches. Sustainability 14(19): 11847, doi: 10.3390/su141911847.
Weldeslassie, S. 2021. Basis for policy formulation: Systematic policy analysis or intuitive policy decision? Journal of Public Administration and Policy Research 13(1): 11-19.