การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของสินค้าเกษตรบัวแดง ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วีรเชษฐ์ มั่งแว่น
วราภรณ์ วิมุกตะลพ
อนัญญา บรรยงพิศุทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของสินค้าเกษตรบัวแดง และสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นต้นแบบจากการแปรรูปสินค้าเกษตรบัวแดงในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสนทนากลุ่ม และ 3) การสังเคราะห์ ซึ่งกำหนดผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน สมาชิกในชุมชน เกษตรกรผู้ปลูกบัวแดง อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัย พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่สามารถพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้ คือ ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากบัวแดง และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสื่อให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์ที่เกิดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการคิดการจัดการผลผลิตและทรัพยากร โดยนำวัตถุดิบ ทรัพยากรทุกประเภท ภูมิปัญญาของชุมชนมาร่วมสร้างสรรค์ผลผลิต ซึ่งรูปแบบและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของสมาชิก ส่งเสริมให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพ การดำเนินงานของกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นดูมีคุณค่า มีมาตรฐาน และเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน นำมาสร้างสรรค์ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ชาบัวแดง และ สบู่บัวแดง ของชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
มั่งแว่น ว., วิมุกตะลพ ว. และ บรรยงพิศุทธิ์ อ. 2023. การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของสินค้าเกษตรบัวแดง ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 11, 2 (พ.ค. 2023), 143–151.
บท
บทความวิจัย

References

Anunvrapong, A. 2014. The product development approach of Banghuosueo community, Samut Prakan province following the sufficiency economy philosophy. Journal of Fine Arts Research and Applied Arts 1(2): 126-157. (in Thai)

Case Study of Fruit Juice. BU ACADEMIC REVIEW 14(1): 153-173. (in Thai)

Dokmai, A. and S. Ampailapsuk. 2022. Designing cultural heritage tourism trail on OTOP Nawatwithi sustainable Noen Kham community, Noen Kham subdistrict, Noen Kham district, Chai Nat province. Journal of Community Development and Life Quality 10(3): 263-272. (in Thai)

Lincharearn, A. 2012. Qualitative Data Analysis Techniques. Journal of Educational Measurement Mahasarakham Universi

ty: JEM-MSU 17(1): 17-29. (in Thai)

Naphat, Q., P. Punyawutpreeda and U. Wuthiphornsopon. 2021. Development of product packaging to create value of yal cha community product,sampran district, Nakhon pathom province. Journal of MCU Buddhapanya Review 6(2): 156-166. (in Thai)

Saiwan, B., P. Jaiman and K. Sucharanurak. 2020. Knowledge management for creating value and value for community products for community enterprises. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University 11(12): 137-147. (in Thai)

Sinarkorn, P., B. Pungnirund and A. Wongkangwan. 2011. Antecedent of the success in new product development of parawood furniture industry in Bangkok metropolitan area and vicinity. Journal of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok 21(3): 657-666. (in Thai)

Thammabutr, A., P. Ardharn and T. Nillit. 2008. Marketing Strategy for Local Hand - woven Silk of Surin Province. Academic Journal of Management Technology (AJMT) 2(2): 1-13. (in Thai)

Tinnabutr, P. 2014. Packaging design and development of Chai Nat agricultural community enterprise products to improve competitiveness and efficiency under the concept of the creative economy The Fine and Applied Arts Journal 9(2): 65-86. (in Thai)

Vadeesirisak, N., S. Jirawatmongkol and W. Wongmontha. 2015. Packaging Design for Aesthetic Marketing: A Case Study of Fruit Juice. BU ACADEMIC REVIEW 14(1): 153-173. (in Thai)