กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนบ้านแม่จอกฟ้า ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ดารารัตน์ ธาตุรักษ์
วชิระ หล่อประดิษฐ์

บทคัดย่อ

ชุมชนบ้านแม่จอกฟ้า ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีทรัพยากรน้ำที่ดีอยู่ในชุมชน มีแปลงเกษตรติดกับลำน้ำแม่ฟ้า และไม่ได้ทำการปลูกพืชใด ๆ ในขณะที่มีน้ำไหลผ่าน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ให้เกิดการใช้ประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้มีแปลงเกษตรติดลำน้ำแม่ฟ้าและเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก 26 รายและลงมือปฏิบัติจริง 4 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ ดำเนินการวิจัยจากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน คือ 1) การประชุมวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการวิจัยร่วมกับตัวแทนชุมชน ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย 2) การสร้างเครื่องมือและออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล 3) ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลลุ่มน้ำแม่ฟ้า 4) การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ และ 5) การทดลองปฏิบัติจริง ผลการดำเนินงานพบว่า ชุมชนเรียนรู้จากการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เกิดการใช้น้ำในแปลงเกษตรด้วยการปลูกพืชระยะสั้นได้อย่างเหมาะสมตามบริบทพื้นที่และฤดูกาล ผลผลิตนำมารับประทานและขายเกิดรายได้กับครอบครัว

Article Details

How to Cite
[1]
ธาตุรักษ์ ด. และ หล่อประดิษฐ์ ว. 2023. กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนบ้านแม่จอกฟ้า ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 11, 1 (ม.ค. 2023), 78–88.
บท
บทความวิจัย

References

Ampansirirat, A. and P. Wongchaiya. 2017. The participatory action research: Key features and application in community. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University 36(6): 192-202. (in Thai)

Boonlai, S., and S. Sripokangkul. 2017. Guideline of water management development for sustainable agriculture system: A case study of Tha Khraserm subdistrict, Nam Phong district, Khon Kaen province. Veridian E-Journal, Silpakorn University 10(2): 1771-1784. (in Thai)

Kunpradid, T., R. Tagun, P. Leelahakriengkrai, N. Supaphan and A. Joradol. 2017. Local community water resources management approach based on sufficiency economic concept and local indigenous: Case study at Kalayaniwatdhana district. pp. 369-379. In: Proceeding of King’s Philosophy for Sustainable Development: research articles, Academic Articles. Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai. (in Thai)

Nithirojpakdee, P., C. Jaisuk, W. Noykongka, Y. Soonthonkit and A. Soonthisak. 2019. Using aquatic insect as indicator of water quality in headwater of Chanthaburi river, Amphoe Khao Khitchakut, Chanthaburi province. Khon Kaen Agriculture Journal 47(6): 1171-1182. (in Thai)

Supmee, R., S. Supmee, N. Jaroensuk, K. Saninjak, S. Tuwsakul. 2020. Create a water management knowledge set and upstream forest by community participation, Thung Phueng subdistrict, Chae Hom district, Lampang province. Full research report. Rajamangala University of Technology Lanna Lampang, Lampang. (in Thai)

Tahom, U. 2021. Cultural-based community development to reduce social inequality. Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University 16(2): 55-73. (in Thai)

Thatrak, D., W. Lawpradit and W. Tapyotin. 2020. Managing water shortages for agriculture during a dry season by community participation in Ban Thung Hang and Ban Mae Jok Fah, Lampang province. Area Based Development Research Journal 12(6): 401-415. (in Thai)

Thongmeethip, K. 2021. Agricultural development in Thailand in terms of community development and quality of life. PSDS Journal of Development Studies. 4(1): 132-162. (in Thai)

Worawongpongsa, W., T. Wongsheree and W. Manish. 2021. Factors affecting on participation in water resource management of people Rang Bua subdistrict, Chom Bueng district, Ratchaburi province. Journal of Community Development and Life Quality 9(1): 170-182. (in Thai)