การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มันเทศญี่ปุ่นของชุมชนท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และแนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับเป็นแนวทางส่งเสริมเพื่อให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และสมาชิกลุ่ม ทั้งสิ้น 16 คน และการทดลองการฝึกจากแปลงสาธิตการปลูกมันเทศญี่ปุ่น 3 เดือน การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การสังเคราะห์และตีความจากข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ความรู้ความเข้าใจทางด้านวิชาการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า การจัดการชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นมีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากการดำเนินงานนั้นมีการวางแนวทางที่เอื้อต่อวิธีชีวิตในชุมชนและการให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอนโดยผู้นำชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Charoenphun, N. 2017. Development of Cookie Products from Sweet Potato. Journal of Food Technology, Siam University 13(1): 32-43. (in Thai)
Phuangprayong, K. 2018. Roles of creative economy and innovative behavior for community enterprise development in thailand. Journal of Development Studies 1(1): 220-252. (in Thai)
Nuansara, M., N. Teypinsai and C. Chutinatphuwadon. 2021. Guideline for the development of OTOP and brand product to international standards Chiang Rai province. Dusit Thani College Journal 15(1): 119-134. (in Thai)
Neawheangtham, R. K. 2017. The guideline of the local wisdom product development for promote creative economy in Nakhon Pathom Province. Veridian E-Jounal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts) 10(1): 994-1013. (in Thai)
Pimta, L. and R. Siritakham. 2021. Product development from local wisdom to increase an efficiency of community management based on sustainability concept in Ban Ma Yang community, Thawat Buri district, Roi Et province. Journal of Community Development and Life Quality 9(3): 465-473. (in Thai)
Pholphirul, P. 2013. Creative Economy and Development Issues in Thailand. NIDA Economic Revie 7(1): 1-69. (in Thai)