ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนการดำเนินงานนิคมสร้างตนเองโซนภาคเหนือ: กรณีศึกษา การถอนสภาพนิคมสร้างตนเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานถอนสภาพนิคมสร้างตนเองโซนภาคเหนือ และ 2. เพื่อจัดทำแนวทางในการถอนสภาพนิคมสร้างตนเองในภาพรวมของโซนภาคเหนือ จากผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลการดำเนินการถอนสภาพนิคมสร้างตนเองโซนภาคเหนือ มีทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการตรวจสอบระวางแผนที่ให้แล้วเสร็จ ด้านการเร่งรัดออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ด้านการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกนิคมและหน่วยงานทราบและด้านการจัดเตรียมข้อมูลด้านต่าง ๆ โดยภาพรวมการดำเนินโครงการถอนสภาพนิคมสร้างตนเองยังมีข้อจำกัดที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพขับเคลื่อนงานการดำเนินโครงการถอนสภาพนิคมสร้างตนเองควรมีการดำเนินการต่อไป ในระยะเวลา 10 ปี 2) มีแนวทางในการถอนสภาพนิคมสร้างตนเองในภาพรวมของโซนภาคเหนือ ดังนี้ เร่งดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและประสานงานสมาชิก ภาคีเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของสมาชิกนิคมและนำข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกนิคมมาใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Bilheem, N., S. Jitpiromsri and K. Hongchayangkool. 2017. The scope of quality of life of the people affected by the unrest in the three southern border provinces: A case study of Raman district, Yala province. Al-Nur Journal of Graduate School, Fatoni University 12(23): 95-105. (in Thai)
Che-tae, A. 2017. People's perspectives towards operation of government officers in three southern border provinces. Al-Hikmah Journal of Fatoni University 7(13): 15-24. (in Thai)
Hanmang P. and Phromlha, W. 2020. Conflictsand Collaboration in Public land Management: The case study of KhokNongsim in Pathumrat District, Roiet. Governance Journal 9(2): 435-470. (in Thai)
Injun, B., S. Katangchol, T. Yachaima and T. Jamkrajang 2018. Lifestyle community: A case study of Prasang self-help settlement Suratthani province. The Journal of Pacific Institute of Management Science (Humanities and Social Sciences) 4(1): 1-9. (in Thai)
Kaewkongpan, D., C. Choothong, C. Mata, S. Srisawakran, and S. Machaiwong 2021. Participatory Innovation Among Elderly People by Creative Creation for Establishing Elderly School in Ban Laeng Subdistrict, Mueang District, Lampang Province. Journal of Community Development and life Quality 9(3): 433-444. (in Thai)
Ongcharoen, P. 2021. Problem Solving Operations in Southern Border Provinces: Case Study of Project for Repairing Houses that are Poor and Underprivileged People in Southern Border Provinces. Journal of Community Development and life Quality 9(1):14-26
Phatthanasri, N. 2015. Development for eifestyle be self-reliant communities of create self plantation in Prachuap
khirikhan province. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University 6(2): 331-341. (in Thai)
Srichai, C. 2018. Problem solving guidelines in three southern border provinces areas of Thailand. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal 24(Special issue): 1-11. (in Thai)
Suwapong, N. 2022. The Lesson Learned to reinforce learning process. Journal of Graduate Saket Review 7(1): 47-60. (in Thai)