เครือข่ายเยาวชนกะเหรี่ยงบ้านกะเบอะดิน: ทุนทางสังคมเพื่อลดความขัดแย้งจากโครงการสร้างเหมืองถ่านหินที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงบทบาทใหม่และทำความเข้าใจเครือข่ายเยาวชนชาวกะเหรี่ยงที่เป็นทุนทางสังคมเพื่อลดความขัดแย้งจากโครงการเหมืองแร่ถ่านหินผ่านแนวคิดทุนทางสังคมของปีเตอร์ พุตนัม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2565 ที่บ้านกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากตัวแทนครัวเรือนอายุ 18-65 ปี จำนวน 75 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีศึกษา จำนวน 6 คน ในงานวิจัยนี้ โดยผลการศึกษาพบว่า หลังเหมืองถ่านหินเริ่มดำเนินการในหมู่บ้าน เครือข่ายเยาวชนกะเหรี่ยงกลายเป็นทุนทางสังคมเพื่อต่อต้านเหมืองถ่านหินและลดความขัดแย้งที่เกิดในชุมชน และด้วยการสนับสนุนจากองค์กรภาคประชาสังคมทำให้เยาวชนกะเหรี่ยงรวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง เกิดการสร้างสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารแบบออนไลน์สู่สาธารณะ ซึ่งเพจเฟสบุ๊คที่เครือข่ายเยาวชนสร้างขึ้นได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง ต่อต้านเหมืองถ่านหิน ลดความขัดแย้งจากการสร้างเหมืองถ่านหิน รวมถึงการนำเสนอวิถีชีวิตของกลุ่มชนเผ่าอื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Community Development Department. 2021. Basic minimum needs in 2021. (Online). Available: https://ebmn.cdd.go.th/report (June 6, 2022). (in Thai)
Jeawkok, J., W. Dhammasaccakarn, K. Laeheem, and U. Sangkarat. 2017. Fishermen and social capital: Community welfare on the Andaman coast of Thailand. Journal of Community Development and Life Quality 6(1): 131-140. (in Thai)
Klangphahol, K. 2020. Mixed methods research. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University 14(1): 235-256. (in Thai)
Mamart, P., S. Leetragul, B. Anansuchatkul, and L. Treeaekanukul. 2016. The process of establishing the persistence for the youth of Dara-ang ethnic group in multicultural society, Chiang Rai province. Journal of Social Academic 9(1): 114-131. (in Thai)
Mei, E. 2021. Youth-led social identity and movements: A case study of youth activism in Hong Kong. Aleph, UCLA Undergraduate Research Journal for the Humanities and Social Sciences 18(1): 148-166.
Morpa, A., K. Umbua, and S. Wangsombut. 2015. Effect of Akha tribe labor’s movement from Ban Huay Khee Lhek, Wawee sub-district, Maesuai district, Chiang Rai. Graduate School Journal 8(17): 166-175. (in Thai)
Omkoi Subdistrict Administrative Organization. 2021. Local development plan (B.E. 2566 - 2570). Plan and policy analysis. Omkoi Subdistrict Administrative Organization, Chiang Mai. (in Thai)
Putnam, R.D. 1995. Bowling alone: America’s declining social capital. Journal of Democracy 6(1): 65-78.
Rodgers, D.M. 2005. Children as social movement participants. Sociological Studies of Children and Youth 11: 239-259.
Top-Class Consultant Co.Ltd. 2011. EIA report (complete edition): Coal mine project at Omkoi Subdistrict, Omkoi district, Chiang Mai province. Full report. Top-Class Consultant Co., Ltd., Bangkok. (in Thai)
Wong, W. and G. Tang. 2017. Social movement and youth participation in Hong Kong: importance of co-evolution between government and youth. Journal of Youth Studies 20(1): 96-112.
Wong, W. 2021. Youth participation and social media: Evidence from the youth activism and social movement of Hong Kong. pp. 129-147. In E. W. Welch (ed.). Research Handbook on E-government: Edward Elgar Publishing Limited, Cheltenham.