การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม OTOP นวัตวิถีอย่างยั่งยืน ของชุมชนบ้านเนินขาม ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม OTOP นวัตวิถีอย่างยั่งยืน ของชุมชนบ้านเนินขาม ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชน ลักษณะทางกายภาพ สังคมและวัฒนธรรมในชุมชนบ้านเนินขาม 2) เพื่อศึกษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในชุมชนบ้านเนินขาม และ 3) เพื่อนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยจักรยานในชุมชนบ้านเนินขาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยข้อมูลสภาพทั่วไปของชุมชนลักษณะทางกายภาพ สังคมและวัฒนธรรมในชุมชนบ้านเนินขาม พบว่า ชุมชนบ้านเนินขามเป็นชุมชนลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาจาก สปป.ลาว ในชุมชนบ้านเนินขามยังมีวัฒนธรรมลาวเวียงอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ จากการศึกษาข้อมูลและสำรวจมรดกภูมิปัญญาทางวัฒธรรมในชุมชนบ้านเนินขาม สามารถจัดกลุ่มมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในชุมชนบ้านเนินขาม แบ่งออกได้ 5 ด้าน คือ 1) มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านศิลปะหัตถกรรม 2) มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านอาหารและโภชนาการ 3) มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านเทศกาลและงานประเพณี 4) มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านการใช้ชีวิต 5) มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านภาษากลุ่มชาติพันธุ์ และการสำรวจสถานที่ท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พบว่า ชุมชนบ้านเนินขามมีศักยภาพที่โดดเด่น ทำให้ผู้วิจัยได้ออกแบบการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสและเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมของชุมชนลาวเวียง ใช้ชื่อโปรแกรมท่องเที่ยวนี้ว่า ท่องเที่ยวชุมชน สัมผัสมนต์เสน่ห์ “ลาวเวียง” เพื่อใช้เป็นคู่มือในการนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาน้อยหรือสามารถท่องเที่ยวได้ 2 วัน 1 คืน ได้ใช้คู่มือนี้ที่เป็นประโยชน์และสร้างคุณค่าแก่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านเนินขามในมิติของการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมลาวเวียง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Anusuren, N. and G. Lowatcharin. 2019. An assessment of OTOP Nawatwithi community based tourism under the Thai Niyom Yangyuen Program in Khon Kaen province. Journal of Buddhist Education and Research 5(2): 205-221. (in Thai)
Prakobkit, P. 2021. Model of cultural tourism based on local wisdom in Khlong Thepha basin, Songkhla province. Journal of Community Development and Life Quality 9(1): 87 – 96. (in Thai)
Sangsawangwatthana. T., Nidchchanun. S. and Bodeerat. C. (2020). "New Normal" A new way of life and adaptation of Thai people after Covid-19 : Work Education and Business. Journal of Local Governance and Innovation: 4(3) : 371-386. (in Thai)
Siricharoen, T. and N. Sriplang. 2017. The designing of cultural-based tourism route of Thai-Lom lifestyles “Thai Lom – a quiet and charming town”. PP.472-480. In: Proceedings of the 4th Phetchabun Rajabhat University National Conference. Phetchabun Rajabhat University, Phetchabun. (in Thai)
Sirilapanan, S. 2020. Effectiveness of driving the tourism attractions strategy according to the Thai-way-of-life identity. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University 7(2): 1-13. (in Thai)
Sirivejjabhandu, A. 2021. Community-based tourism in new normal way during the COVID-19 crisis: A case of Nong Ha community, Huai Thap Than district, Sisaket province. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University 12(1): 58-75. (in Thai)
Sriboonruang, P. and C. Pimonsompong. 2021. The development of high value tourist destination for high value tourists in Thailand. Journal of Southern Technology 14(1): 1-13. (in Thai)
Tangtenglam, S. and Pongpanich, A. 2021. Factors Affecting the Selection of New normal Thai Travel. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences. 4(1) January-April 2021: 12-24. (in Thai)
Teanthaworn, Y. 2020. Community Participation and Development of Historical Site in Sankaburi District, Chainat Provine. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University 12(2): 293-308. (in Thai)