วิถีชีวิตและระบบสุขภาพชุมชนของประชาชนในตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ศิรินันท์ คำสี
ชนะพล สิงห์ศุข
ญาดา เรียมริมมะดัน
โปรดปราน ทาศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและระบบสุขภาพชุมชนของประชาชนในชุมชน ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและเครือข่ายชุมชน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2562 โดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คุณครูโรงเรียนวัดสามร่ม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 13 คน ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ใช้ชีวิตในวิถีแบบชาวสวน และมีผู้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมอชาวบ้านในด้านการนวดประคบ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกมะพร้าวน้ำหอม โดยสานพลังให้ประชาชนในชุมชนร่วมกันพัฒนาชุมชน ระบบสุขภาพชุมชนกระบวนการเยียวยารักษาโรคในแต่ละครั้งมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน ทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว เครือข่ายทางสังคมและชุมชน ซึ่งกระบวนการเยียวยารักษาโรคเกี่ยวกับความเจ็บป่วยมีการผสมผสานจากทั้งการรักษาแบบพื้นบ้านและการรักษาแบบสมัยใหม่

Article Details

How to Cite
[1]
คำสี ศ. , สิงห์ศุข ช., เรียมริมมะดัน ญ. และ ทาศิริ โ. 2022. วิถีชีวิตและระบบสุขภาพชุมชนของประชาชนในตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 10, 2 (พ.ค. 2022), 201–210.
บท
บทความวิจัย

References

Anantawong, W. K. Boonprakarn and P. Tepsing 2018. The meanings and way of life of Khiriwong community. PP. 27-41. In: Proceedings of the 9th Hatyai National and International Conference, Hat yai. (in Thai)

Bor, J., Cohen, G. H., & Galea, S. 2017. Population health in an era of rising income inequality: USA, 1980-2015. Lancet (London, England), 389(10077), 1475–1490. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(17)30571-8

Chuengsatiansup, K. 2007. To new imagination to the heart of health system. PP.25-36. In: S. Atikamanon (ed.). Conceptual Framework of Primary Care Service and Practice in Community Health. Office of Community Based Health Care Research and Development, Nonthaburi (in Thai)

Chuengsatiansup, k., k. Tengrang, R. Pinkaew and W. petkong. 2002. Community Way. Health Systems Research Institute, Nonthaburi. 194 p. (in Thai)

Buasonte, R. Pawanranchakorn, J. Sritimongkon, R. Tubtim, W. Poksiri,M. 2009. Health care lifestyle of Thai-Song-Dam from the past toward the era of sufficiency health. Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)

Nantsupawat,R. Junmahasathie, S. Phumvitchuvate, L. Charuwatcharapa

niskul, U. Chareonsanti, J. Keitlertnapha, Sunthorn, V. 2012. Development of Community Health System by the People for the people: Case Study of Chisathan District. Nursing Journal 39 (2) April – June 2012: 145-156. (inThai)

Phelan, J. C., Link, B. G. 2005. Controlling disease and creating disparities: a fundamental cause perspective. The journals of gerontology. Series B, Psychological sciences and social sciences, 60 Spec No 2, 27–33. https://doi.org/10.1093/geronb/60.special_issue_2.s27

Sakeah E, Aborigo RA, Debpuur C, Nonterah EA, Oduro AR, Awoonor-Williams JK. Assessing selection procedures and roles of Community Health Volun

teers and Community Health Management Committees in Ghana's Community-based Health Planning and Services program. PLoS One. 2021;16(5):e0249332. Published 2021 May 5. doi:10.1371/journal. pone.0249332

Satsanguan, N. 1988. Anthropology: culture Concept. Journal of Social Sciences 25(1): 1-27. (in Thai)

Strategy and Planning Division.2017. 20-year national strategic plan. (Online). Available: https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf (June 30, 2019). (in Thai)

Suwannatrai,P and Wongsawat, C. 2021. Knowledge Management to Develop Ready-Made Herbal Products: A Case Study of Ban Phasuk, DonTan Subdistrict, DonTan District, Mukdahan Province. Journal of Community Development and life Quality 9(2):213-222. (in Thai)

Zhang, Y. B., Chen, C., Pan, X. F., Guo, J., Li, Y., Franco, O. H., Liu, G., Pan, A. 2021. Associations of healthy lifestyle and socioeconomic status with mortality and incident cardiovascular disease: two prospective cohort studies. BMJ (Clinical research ed.), 373, n604. https://doi.org/10.1136/bmj.n604