ผลการประเมินตนเองด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมกิจกรรมการคิดเชิงออกแบบเพื่อนวัตกรรมทางสังคม

Main Article Content

สุภรพรรณ คนเฉียบ
มิ่งขวัญ กันจินะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับการประเมินตนเองด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาไทยก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการคิดเชิงออกแบบเพื่อนวัตกรรมทางสังคมร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเข้าใจปัญหา ระยะการสร้างสรรค์ความคิด และระยะการสร้างแบบจำลอง ประชากร ได้แก่ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการคิดเชิงออกแบบเพื่อนวัตกรรมทางสังคมตั้งแต่ปีการศึกษา ในเดือนมีนาคม ปีการศึกษา 2561 จำนวน 27 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินตนเองด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม แบบการประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ เพื่อนำมาเปรียบเทียบผลประเมินตนเองก่อนและหลังกิจกรรม โดยการทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า การประเมินตนเองด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาไทยหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการเปรียบเทียบระดับทักษะในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3 ระยะ พบว่า ทักษะด้านความร่วมมือมีการพัฒนาสูงที่สุดในทุกระยะ รองลงไปคือทักษะด้านการสื่อสารในระยะการเข้าใจปัญหาและระยะการสร้างสรรค์ความคิด และทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารญาณและแก้ไขปัญหาในระยะการสร้างแบบจำลอง

Article Details

How to Cite
[1]
คนเฉียบ ส. และ กันจินะ ม. 2020. ผลการประเมินตนเองด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมกิจกรรมการคิดเชิงออกแบบเพื่อนวัตกรรมทางสังคม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 2 (ก.ย. 2020), 327–338.
บท
บทความวิจัย

References

Brown, T. 2008. Design thinking. Harvard
Business Review. 86(6): 84-95.
Brown, T. and J. Wyatt. 2010. Design thinking for social Innovation. Development Outreach 12(1): 29-43.
Creswell, J.W. 2018. Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. 6th ed. Pearson, Upper Saddle River, New Jersey 672 p.
Docherty, C. 2017. Perspectives on design thinking for social innovation. The Design Journal 20(6): 719-724.
Kirkpatrick, A. 2012. English as an international language in Asia: Implications for language education. pp. 29-44. In: Kirkpatrick, A. and R. Sussex (eds.). English as an International Language in Asia: Implications for Language Education. Springer, Dordrecht.

Koh, J.H.L., C.S. Chai, B. Wong and H.Y. Hong. 2015. Design Thinking for Education: Conceptions and Applications in Teaching and Learning. Springer, Singapore. 131 p.
Noweski, C, 2012. Towards a Paradigm Shift in Education Practice: Developing Twenty-First Century Skills with Design Thinking. pp. 71-94. In: Plattner, H, C. Meinel, and L. Leifer (eds.). Design Thinking Research: Measuring Performance in Context. Springer, Verlag Berlin Heidelberg.
Partnership for 21st Century Learning. 2019. Framework for 21st century learning definitions. (Online). Available: https://www.battelleforkids.org/learning-hub/learning-hub-item/framework-for-21st-century-learning-definitions (March 5, 2019).
Razzouk, R. and V. Shute. 2012. What is design thinking and why is it important? Review of Educational Research 82(3): 330–348.