การใช้วัสดุพื้นถิ่นเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่ออนุบาลกุ้งกุลาดำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้วัสดุพื้นถิ่นได้แก่ เปลือกหอยแครง เปลือกหอยแมลงภู่ ถ่านไม้โกงกาง และเปลือกไม้โกงกาง จาก จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาการดูดซับและปลดปล่อยธาตุอาหารในระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยการใช้วัสดุพื้นถิ่น 300 กรัม ใส่ในถังชนาด 15 ลิตรบรรจุน้ำกร่อยธรรมชาติ สังเกตความเข้มข้นของธาตุอาหาร เป็นระยะเวลา 5 วัน และศึกษาการใช้วัสดุพื้นถิ่นร่วมกับการอนุบาลกุ้งทะเลในบ่อเพาะเลี้ยง ผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่ามีเพียงเปลือกหอยแมลงภู่และเปลือกไม้โกงกางที่ดูดซับแอมโมเนียได้ในช่วงวันแรก จากนั้นวัสดุพื้นถิ่นทั้ง 4 ชนิดจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา โดยเปลือกหอยแครง เปลือกหอยแมลงภู่ ถ่านไม้โกงกาง และเปลือกไม้โกงกางปลดปล่อยธาตุอาหารอนินทรีย์ไนโตรเจนต่อฟอสเฟต เท่ากับ 10:1, 8:1, 4.6:1 และ 1:2 ตามลำดับ เมื่อนำถ่านไม้โกงกาง และเปลือกหอยแมลงภู่ ปริมาณ 10.8 และ 2 กิโลกรัม มาใช้ร่วมในการอนุบาลลูกพันธุ์กุ้งในกระชัง 2,500 ตัวในพื้นที่ 2 ตารางเมตร พบว่า การใส่วัสดุพื้นถิ่นดังกล่าว ช่วยเพิ่มความยาวเฉลี่ยกุ้งได้ โดยมีความยาวมากกว่าลูกกุ้งในกระชังควบคุมที่ไม่ใช้วัสดุพื้นถิ่นประมาณร้อยละ 26 และสามารถช่วยดูดซับโลหะหนักในน้ำได้
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Michael, F.R., N.E. Saleh, S.M. Shalaby, E.M. Sakr, D.E. Abd-El-Khalek and A.I. Abd Elmonem. 2017. Effect of different dietary levels of commercial wood charcoal on growth, body composition and environmental loading of red tilapia hybrid. Aquaculture Nutrition 23(1): 210-216.
Priyadarsani, L. and T.J. Abraham. 2016. Water and sediment quality characteristics of medium saline traditional shrimp culture system (bheri). Journal of Fisheries 4(1): 309-318.
Qiao, S., X. Shi, X. Fang, S. Liu, N. Kornkanitnan, J. Gao, A. Zhu, L. Hu, Y. Yu. 2015. Heavy metal and clay mineral analyses in the sediments of Upper Gulf of Thailand and their implications on sedimentary provenance and dispersion pattern. Journal of Asian Earth Sciences.
114(3): 448-496.
Recknagel, F., T. Zohary, J. Rucker, P.T. Orr. 2019. Relationships of Raphidiopsis (formerly Cylindrospermopsis) dynamics with water temperature and N:P-ratios: A meta-analysis across lakes with different climates based on inferential modelling. 2019. Harmful Algae 84(4): 222-232.
Shyne-Anand, P.S., C.P. Balasubraman, L. Christina, S. Kumar, G. Biswas, D. De, T.K. Ghoshai, K.K. Vijayan. 2019. Substrate base black tiger shrimp, Penaeus monodon culture: Stocking density, aeration and their effect on growth performance, water quality and periphyton development. Aquaculture 507(5): 411-418.
Toyabut, K., K. Sriaeim, B. Kanchanabha, 2019. Survey of sustainable agricultural behavior: Case study of agriculturists living in Bophloi Kanchanaburi. Journal of Community Development and Life Quality 7(3): 261-270.
Wang, L., Y. Wang, F. Ma, V. Tankpa, S. Bai, X. Guo, X. Wang. 2019. Mechanisms and reutilization of modified biochar used for removal of heavy metals from wastewater: A review. Science of the Total Environment 668(6): 1298-1309.
Zhu, L., L. Tong, N. Zhao, X. Wang, X. Yang, Y. Lv, 2020, Key factors and microscopic mechanisms controlling adsorption of cadmium by surface oxidized and aminated biochars. Journal of Hazardous Materials 382(1)