ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับวัสดุเชิงวิศวกรรมจากอิพ็อกซีเรซินที่ปรับปรุงด้วย ยางธรรมชาติอิพ็อกไซด์และนาโนเซลลูโลส

Main Article Content

อัญนูดา หลันหน๊ะ
สุนิสา สุชาติ

บทคัดย่อ

ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับวัสดุวิศวกรรมชนิดใหม่ที่เตรียมจากยางธรรมชาติอิพ็อกซิได์ (ENR 50) กับอิพ็อกซีเรซิน และนาโนเซลลูโลส ซึ่งนาโนเซลลูโลสได้จากต้นยูคาลิปตัสและยาง ENR 50 ได้มาจากการดัดแปรโครงสร้างจากยางธรรมชาติ โดยวัสดุทั้งสองชนิดได้จากธรรมชาติซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยางมีคุณสมบัติเชิงกลดีเยี่ยม และราคาถูก อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่มีศักยภาพทดแทนพอลิเมอร์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม นาโนคอมโพสิทประกอบด้วยอิพ็อกซีเรซิน ยาง ENR 50 และนาโนเซลลูโลส นำไปทดสอบลักษณะเฉพาะด้วยเครื่อง FTIR, DLS, AFM และ SEM สมบัติเชิงกล (ความต้านทานต่อแรงกระแทกและความต้านทานต่อแรงดึง) และสมบัติทางความร้อน ผลจากการศึกษาพบว่าการเติมนาโนเซลลูโลสที่ปริมาณ 0.75 ส่วนต่ออิพ็อกซีเรซิน 100 ส่วน ช่วยปรับปรุงความต้านทานต่อแรงกระแทกสูงถึง 129% (14.94 kJ/m2) เนื่องจากการกระจายตัวที่ดีของนาโนคอมโพสิท ส่งผลให้เกิดการดูดซับและกระจายพลังงานได้ดี ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับวัสดุวิศวกรรมชนิดใหม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในใบพัดโดรนและกังหันลมได้

Article Details

How to Cite
[1]
หลันหน๊ะ อ. และ สุชาติ ส. 2020. ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับวัสดุเชิงวิศวกรรมจากอิพ็อกซีเรซินที่ปรับปรุงด้วย ยางธรรมชาติอิพ็อกไซด์และนาโนเซลลูโลส. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 1 (ก.ย. 2020), 172–183.
บท
บทความวิจัย

References

Chaliewsak, J., C. Kleebbua, A. Rungouthai and T. Thioop. 2019. Design and value-added local product of Thailand: traditional Isan printed Pha Sin. Journal of Community Development and Life Quality 7(3): 226-238. (in Thai)
Hospodarova, V., E. Singovszka and N. Stevulova. 2018. Characterization of cellulosic fibers by FTIR spectroscopy for their further implementation to building materials. American Journal of Analytical Chemistry 9(6): 303-310.
Jafari, V. and A. Allahverdi. 2014. Synthesis and characterization of colloidal nano silica via an ultrasound assisted route based on alkali leaching of silica fume. International Journal of Nanoscience and Nanotechnology 10(3): 145-152.
Jaiganesh, V., S. Manivannan and S. Manivannan. 2014. Numerical analysis and simulation of nylon composite propeller for aircraft. Procedia Engineering 97: 1079-1088.
Nurgesang, F.A., S. Wattanasiriwech, D. Wattanasiriwech and P. Aungkavattana. 2016. Mechanical and physical properties of fly ash geopolymer-mullite composites. Suranaree Journal of Science and Technology 23(1): 45-52.
Pithaksareetham, N., N. Hongkarnjanakul and S. Suchat. 2018. Eco‐nanocomposites with epoxidized natural rubber for improved mechanical properties essential to unmanned aerial vehicles propeller applications. Advances in Polymer Technology 37(8): 2946-2957.
Saba, N., F. Mohammad, M. Pervaiz, M. Jawaid, O. Alothman and M. Sain. 2017. Mechanical, morphological and structural properties of cellulose nanofibers reinforced epoxy composites. International Journal of Biological Macromolecules 97: 190-200.
Suchat, S. and W. Yingprasert. 2014. ECO-adhesive from modified natural rubber for wood applications. Advanced Materials Research 844: 182-185.
Suchiva, K. 2015. Rubber nanocomposite. (Online). Available: http://rubber. oie.go.th/box/Article/95.pdf (October 2, 2017). (in Thai).
Wongkamchang, P. and P. Kanyoo. 2018. Design and development of a small fixed-wing vertical take-off and landing unmanned aerial vehicle. Kasem Bundit Engineering Journal 8(2): 194-205. (in Thai).