แนวทางเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหาร: กรณีศึกษาบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

นพรัตน์ ไชยชนะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทชุมชนบ้านทิพุเย (2) ศึกษาระบบการผลิตและความมั่นคงทางอาหารของชุมชน (3) วิเคราะห์แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์วิธีทางมานุษยวิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะจง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์ องค์กรพัฒนาที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การจัดเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า “ทิพุเย” เป็นภาษากะเหรี่ยง หมายถึง ลำห้วยเล็ก ๆ มีต้นเต่าร้าง ขึ้นอยู่จำนวนมากในชุมชน บ้านทิพุเยมีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์อาศัยอยู่เป็นหลัก มีวิถีชีวิตเป็นสังคมเกษตรกรรมและหาของป่า ยึดกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ ชุมชนมีแนวคิดต่อความมั่นคงทางอาหาร คือ  ความพร้อมในฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สามารถหากินได้ตลอดปีและตามฤดูกาล ระบบการผลิตในชุมชนแบบยังชีพ ดำรงชีวิตจากการพึ่งพาอาศัยฐานทรัพยากรท้องถิ่นด้วยการปรับใช้ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับแนวคิดเกษตรกรรมแบบยั่งยืนหรือเกษตรกรรมทางเลือก ที่ชุมชนสืบทอดมาอย่างยาวนานเป็นการสร้างความยืดหยุ่น ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของยุคสมัย  ยึดกฎเกณฑ์ที่สัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรม ความเชื่อกับระบบเกษตรการทำข้าวไร่ แนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพความมั่นคงทางอาหารของชุมชน คือ (1) การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการจัดการแหล่งอาหารตามธรรมชาติ การผลิตพืชอาหารหลักที่มีความปลอดภัย เพียงพอ และหลากหลาย และ (2) การเสริมสร้างศักยภาพด้านทุนบุคคลในชุมชน ให้มีการเฝ้าระวังความมั่นคงทางอาหารของชุมชนตลอดจนการสร้างการเรียนรู้เรื่องความมั่นคงทางอาหารให้กับคนอื่น ๆ ในชุมชน

Article Details

How to Cite
[1]
ไชยชนะ น. 2020. แนวทางเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหาร: กรณีศึกษาบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 1 (ก.ย. 2020), 158–171.
บท
บทความวิจัย

References

Amphansirirat, A. 2016. Social capital and food security in a rural community: A case study of Khuan Ru Sub-district, Rattaphum District, Songkhla Province. Songkhla: Boromrajonani Songkhla Nursing College.
Boonphila, N. 2018. Phu Tai Wisdom Cultural Cuisine in Udonthani. Journal of Community Development and Life Quality 4(2): 224 – 234. (In Thai)
Chaichana, N. 2014. Cultural inheritance of eating culture among Karen Po of Thiphuye village. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University 3 (2): 79 – 88. (in Thai)
Chaichana, N. 2018. Modes of Production and Food Security in a Cultural Dimension Ban Thiphuye, Thailand. Journal Asian Political Science Review 2(2): 24 – 32.
Chaichana, N. and P. Wuttiprajack. 2017. Food security of marginal people based on local resource diversity of Ban Bong Ti Lang, Bong Ti subdistrict, Sai Yok district, Kanchanaburi province. Research report. Research and Development Institute, Kanchanaburi Rajabhat University, Kanchanaburi (in Thai)
Chaichana, N. and W. Udomsap. 2017. “Lue Ka Wo”, the livelihood of the Pwo Karen group in Ban Rai Pa, Huai Khayeng subdistrict, Thong Pha Phum district, Kanchanaburi province. Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University 11(2): 119-140. (in Thai)
Chaichana, N. and W. Udomsap. 2017. “Thong Mia Wo” a ritual and belief of Pwo Karen of Ban Rai Pa, Huai Khayeng Sub-district, Thong Pha Phum district, Kanchanaburi province. Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University 13(2): 38 - 54 (in Thai)
Chaichana, N. and J. Wongtaw. 2018. Food security in a cultural dimension of Pwo the Karen ethnic group in Ban Thiphuye, Chalae subdistrict, Thong Pha Phum district, Kanchanaburi province. Walailak Journal of Social Sciences 11(1): 43-71. (in Thai)
Nawa Chi One Foundation. 2018. The agricultural sector and climate change: Opportunities and challenges. Nawa Chi One Foundation, Bangkok. (in Thai).
Omotayo, M.A., O. Avungbeto., O.O. Sokefun. and O.O. Eleyowo. 2015. Antibacterial activity of Crassocephalum crepidioides (Fireweed) and Chromolaena odorata (Siam weed) hot aqueous leaf extract. International Journal of Pharma and Biological Sciences 5(2): 114-122.
Pankaew, K and K. Sirichaisin. 2019. Local Wisdom for Livelihood Sustenance of Paka – Kyaw Ethinc Grops at Ban Mae San, Mae Moh District, Lampang Province. Journal of Community Development and Life Quality 7(1): 12 - 23.
Phuepracha, E. 2015. “Boon Khaw Sak” in socio-cultural context of “Tai Dan”. Kasetsart University Journal 8(2): 2481-2496.
Sintaweewarakul, J., V. Sintaweewarakul and A. Harnthavee. 2008. Use of the Eupatorium odoratum Linn. leaves crude extract to treat the castration
wound in piglet. pp.115-121. In Proceedings of 46th Kasetsart University Annual Conference: Animals and Veterinary Medicine. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Tambon Chalae Administrative Organization. 2018. Three-year Development Plan 2017-2020. Tambon Chalae Administrative Organization, Kanchanaburi. (in Thai)