การจัดการภัยพิบัติปาบึกขององค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการภัยพิบัติปาบึก ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการภัยพิบัติปาบึก และศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการภัยพิบัติปาบึกขององค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร มีการจัดการภัยพิบัติทั้งก่อนเกิดสาธารณะภัย ขณะเกิดสาธารณะภัยและหลังเกิดสาธารณะภัย ปัจจัยการวางแผนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการภัยพิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยปัจจัยด้านการวางแผนในการจัดการภัยพิบัติเป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากการวางแผนในการจัดการภัยพิบัติจะลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ส่งผลให้การดำเนินงานในด้านการจัดการภัยพิบัติมีระบบในการบริหารจัดการ มีระเบียบแบบแผนรู้ว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง จะต้องช่วยเหลือส่วนไหน และจะต้องอพยพประชาชนไปที่ใด ความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการภัยพิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Adulyapichit, C. 2015. The flooding disaster management of Rahaeng Tambon Administration Organization of Lat Lum Kaeo, Pathum Thani province. Academic Services Journal Prince of Songkla University. 26(1): 75 – 81. (in Thai)
Baas, S., S. Ramasamy, J.D. Pryck and F. Battista. 2008. Disaster Risk Management Systems Analysis: A Guide Book. Rome Food and Agriculture Organization of the United Nations. 90 p.
Chopyot, S. 2016. The study of local administrative cooperation on disaster management: A case study of Roi-Et municipality and adjacent local administrations. Thai Journal of Public Administration. 14(2): 129 - 154. (in Thai)
Department of Disaster Prevention and Mitigation. 2009 Guideline for People in Preparation for Survival from Disasters Bangkok 138 p. (in Thai)
Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3): 607-610.
Mala, T. 2016. The sustainable flood management of Buengchamor Subdistrict Administrative Organization Nongsuea district Pathum Thani province. Valaya Alongkorn Review. 5(2): 75 – 85. (in Thai)
Mala, T., W. Chinnasri and W. Ruangsom. 2015. The role of local authorities in Pathumthani in Pathumthani province for flood management. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University 9(3): 172 – 183. (in Thai)
Manjaituk, P. 2015 The strategic administration of disaster prevention and mitigation in Muang municipality, Phetchaburi province. Veridian E-Journal, Silpakorn University 8(2): 2351 - 2368. (in Thai)
National Disaster Prevention and Mitigation Committee. 2015. National Disaster Prevention and Mitigation Plan, 2015 Bangkok 146 p. (in Thai)
Pak Nakhon Subdistrict Administrative Organization. 2018. Action plan for prevention and relief of public disaster, 2018. Pak Nakhon Subdistrict Administrative Organization Nakhon Si Thammarat 59 p. (in Thai)
Shaluf, M.I. 2007. An overview on the technological disasters. Disaster Prevention and Management 16(3): 380 - 390.
Thongprasert, S. and C. Choosuk. 2015. Disaster management of local government organizations and community organization networks. Local Administration Journal 8(4): 112 - 123. (in Thai)