พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัย (คุณลักษณะส่วนบุคคล ระบบบริการสุขภาพของสถานบริการสาธารณสุข การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 131 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel จำนวน 113 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย สถานภาพสมรส รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน สิทธิ์ด้านการรักษาพยาบาล ระบบบริการสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ตามลำดับ สำหรับอายุมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.043) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย ปัจจัยสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพและการส่งต่อ รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน สามารถทำนายได้ร้อยละ 40.1

Article Details

How to Cite
[1]
โพธิ์อ่ำ อ. 2020. พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 3 (ส.ค. 2020), 603–614.
บท
บทความวิจัย

References

American Diabetes Association [ADA]. 2004. Preventive foot care in people with diabetes. Diabetes Care 32: 63-64.

Becker, M.H. 1974. The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs 2: 324-508.

Best, J.W. 1977. Research in Education. 3rd (ed). Prentice Hall. Englewod Cliffs; N.J.

Cronbach, L.J. 1997. Essentials of Psychological Testing. Harper and Row, New York.

Daniel, W.W. 2010. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th (ed). John Wiley & Sons, New York.

Gordon, N.F., C.B. Scott and B.D. Levine. 1997. Comparison of single versus multiple lifestyle interventions: Are the antihypertensive effects of exercise training and diet-induced weight loss additive? The American Journal of Cardiology 79(6): 763-767.

Luangamornlert, S. 1994. Nursing of Chronic Patients: Key Concept for Care. Printing, Khon Kaen. (in Thai)

Ministry of Public Health. 2017. Thailand

Healthy Lifestyle Strategic Plan, B.E. 2554-2563 (2011-2020). Nonthaburi, Thailand: Ministry of Public Health. (in Thai)

Orem, D.E. 1991. Nursing: Concepts of Practice 4th (ed.) Mosby Year Book, St. Louis.

Pender, N.J., S.N. Walker, K.R. Sechrist, M.F. Strombory. 1990. Predicting health-promotion lifestyle in the workplace. Nursing Research 39(6): 326-332.

Rosenstock, I.M. 1974. History origins of the health belief model. Health Education Monographs 2(4): 328-335.

Sami, W., Ansari, T., Butt, N.S., Ab Hamid., M.R. 2017. Effect of diet on type 2