การส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยละครเพื่อการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของละครเพื่อการศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ใช้กระบวนการวิจัย คือ 1) สร้างและหาคุณภาพของละครเพื่อการศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการละครเพื่อการศึกษา กลุ่มทดลองคือนักศึกษาหลักสูตรศิลปะการแสดง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยศิลปะการละคร 2) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องศิลปะการละครก่อนอบรมและหลังอบรม 3) แบบประเมินตนเองต่อกิจกรรมศิลปะการละคร 4) แบบประเมินผลตามสภาพจริงทางด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการศิลปะการละคร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการละครเพื่อการศึกษาสามารถส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา 2) ผลการเรียนรู้ด้านศิลปะการละครของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังอบรมด้วยสูงกว่าก่อนอบรม 3) นักศึกษาพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ด้วยละครเพื่อการศึกษาในระดับมากและมากที่สุด
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Bauprakorn, D. andS. Jindawat. 2004. The use of drama for community development of makhampomtheatre group: A case study of area work with four different contexts, Bangkok Province. Communication for Communities Fund Research Report: 37-40. (in Thai)
Chamchoy, P. 2019. A landscape of drama in educational contexts: Paradigms, concepts and approaches of scholars and practitioners who utilized drama as a pedagogical tool. STOU Education Journal 12(2): 85-102. (in Thai)
Chutintaranond, T. 2017. Educational theatre in Western and Thai Societies. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, Humanmities and Social Sciences 37(4): 195-207. (in Thai)
Dale, E. 1969. Audio Visual Methods in Teaching (3rd ed.) New York: Holt Rinehart and Winston. 107.
Nordström, A., A. Fjellman-W and T. Grysell. 2011. Drama as a pedagogical tool for practicing death notification-experiences from Swedish medical students. BMC Medical Education. 11.74: 2-7.
Panpinit, S. 2008. Social science research techniques (5th ed.). Bangkok Province: 54. (in Thai)
Straksiene, G. and D. Baziukatte. 2009. Integration of ICT, drama, language for development of children’scommunicative competence: Case study in a primary school. Informatics in Education. 8(2): 281–294.