พฤติกรรมและทัศนคติต่อการใช้น้ำประปาแบบประหยัดของครัวเรือนในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

จุฑาพร เกษร
วีระพงค์ เกิดสิน
สูฮัยลาร์ สมาแอ
สุรเชษฐ์ ปิ่นแก้ว
พันธ์ ทองชุมนุม
แสงดาว วงค์สาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้น้ำประปา และทัศนคติต่อการใช้น้ำแบบประหยัดของครัวเรือนในจังหวัดภูเก็ต โดยใช้แบบสำรวจประชาชนในพื้นที่ทุกตำบลของจังหวัดภูเก็ตจำนวน 400 ครัวเรือน และวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าครัวเรือนที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีการอยู่อาศัยและประกอบกิจการอื่นร่วมด้วย (51.75%) แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคส่วนใหญ่มาจากการประปาส่วนภูมิภาค (57.75%) มีสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำ/น้ำไหลไม่ดีในบางพื้นที่ของช่วงฤดูแล้งประมาณสามเท่าเมื่อเทียบกับช่วงฤดูฝน ด้านพฤติกรรมการใช้น้ำประปา พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการประหยัดน้ำระดับมาก (เฉลี่ย 2.75±0.92) และประชาชนที่อยู่บริเวณต้นสายมีความพึงพอใจระดับมากต่อคุณภาพของน้ำประปา (เฉลี่ย 2.57±0.91) มากกว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณปลายสาย เมื่อพิจารณารายอำเภอ พบว่า ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่อำเภอถลาง มีครัวเรือนที่ขาดแคลนน้ำ/น้ำไหลไม่ดีมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอกะทู้ และอำเภอเมืองภูเก็ต ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นผลสะท้อนกลับที่สำคัญและจำเป็นสำหรับใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

Article Details

How to Cite
[1]
เกษร จ., เกิดสิน ว., สมาแอ ส., ปิ่นแก้ว ส., ทองชุมนุม พ. และ วงค์สาย แ. 2021. พฤติกรรมและทัศนคติต่อการใช้น้ำประปาแบบประหยัดของครัวเรือนในจังหวัดภูเก็ต. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 9, 2 (ก.พ. 2021), 330–339.
บท
บทความวิจัย

References

Chaiyarat, N. 2007. Guidelines for development tourism area on the tsunami disaster area: A case study of Kamala beach, Amphoe Kathu, Phuket province. Journal of Architectural Planning Research and Studies 5(2): 55-76.

Faculty of Technology and Environment. 2017. Phuket water management report 2017. Prince of Songkla University Phuket Campus, Phuket. (in Thai)

Grafton, R.Q., T. Kompas, H. To and M. Ward. 2009. Residential water consumption: A cross country analysis. Journal of Socio-Economics 32: 81-102.

Gregory, G.D. and M.D. Leo. 2003. Repeated behavior and environmental psychology: The role of personal involvement and habit formation in explaining water consumption. Journal of Applied Social Psychology 33(6): 1261-1296.

Jorgensen, B., M. Graymore, and K. O'Toole. 2009. Household water use behavior: An integrated model. Journal of Environmental Management 91(1): 227-236.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3): 607-610.

Office of the National Economic and Social Development Council. 2012. National Economic and Social Development Plan No. 11 (2012-2016). (Online). Available: https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf (May 28, 2019). (in Thai)

Phannarai, W. 2008. Behavior of using water like saving of people in Phetchaburi municipality, Phetchaburi province. M.P.A. Burapa University, Chon Buri.

Phuket City Municipality Office. 2017. Phuket solves the problem of lack of water. (Online). Available: https://mgronline.com/south/detail/9620000057913. (May 24, 2019). (in Thai)

Phuket Provincial Administration Organization. 2019. The workshop report on solving the problems of water management in Phuket. Phuket Provincial Administration Organization, Phuket. (in Thai)

Royal Irrigation Department. 2011. Water use assessment guide in various activities. (Online). Available: http://water.rid.go.th/hwm/wmg/water/handbook.php (May 24, 2019). (in Thai)

Simmalee, K., K. Akamphon, J. Jindorojana and K. Thatthong. 2008. Water utilization rate and water saving attitude of housing estate communities in Khon Kaen province. Rajabhat Maha Sarakham University Journal 2(3): 27-35. (in Thai)

Thasakorn, P., Phakdisuwan, F. and Sujarit, w. 2013. Participation, satisfaction and technology needs for water supply production management of ngeuwdon local government ampher mueng, sakon nakhon province. Graduate Studies Journal 10(50): 47-58. (in Thai)