ย่านและชุมชนดั้งเดิมริมคลองแสนแสบในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นราธิป ทับทัน
อารี เลาะเหม็ง
ศศิธร คล้ายชม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่อจัดทำฐานข้อมูลย่านและชุมชนดั้งเดิมบริเวณริมคลองแสนแสบในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยการเลือกตัวแทนพื้นที่ที่มีคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม หรือศิลปกรรม หรือประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือสังคมวัฒนธรรมโดยรวม และเป็นชุมชนอยู่อาศัยที่มีอายุมากกว่า 100 ปี หรือเป็นย่านการค้าหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ สังเกตการณ์ และบันทึกภาพ แล้ววิเคราะห์เทียบเคียงกับแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ผลการวิจัยสามารถรวบรวมย่านและชุมชนดั้งเดิมได้จำนวน 13 แหล่ง แบ่งเป็นชุมชนอยู่อาศัยดั้งเดิมจำนวน 7 แห่ง ย่านการค้าดั้งเดิมจำนวน 4 แห่ง และย่านหรือชุมชนที่มีความผสมผสานจำนวน 2 แห่ง พร้อมกับระบุสถานที่และจุดหมายตาสำคัญตลอดแนวลำคลองได้จำนวน 82 แห่ง สรุปได้ว่าบริเวณริมคลองแสนแสบในเขตกรุงเทพฯ ยังหลงเหลือร่องรอยของย่านและชุมชนดั้งเดิมอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเอื้อต่อการฟื้นฟูและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้

Article Details

How to Cite
[1]
ทับทัน น., เลาะเหม็ง อ. และ คล้ายชม ศ. 2020. ย่านและชุมชนดั้งเดิมริมคลองแสนแสบในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 3 (ส.ค. 2020), 615–627.
บท
บทความวิจัย

References

Bunnag, P., D. Nopkhun and S. Thadaniti. 1982. Canals in Bangkok: History, changes and their impact (1782 A.D. - 1982 A.D.). Research report, Chulalongkorn University, Bangkok. 395 p. (in Thai)

Damrilert, R. 2003. History of Ban Khrua and Resistance to the CD Road Expressway of the Community. Aroonkarnpim, Bangkok. 280 p. (in Thai)

Hemapat, M. 2005. A study on the physical environment of the Nong Chok old market wooden shop houses in relation to the people's way of living and society for conservation and development purposes. M.A. Thesis, Sikpakorn University, Bangkok. 146 p. (in Thai)

Kulthamrong, R. 2012. Buddhist monasteries and Muslim mosques beyond Saensaeb canal: Emergence and existence. Journal of Thai Studies 8(2): 59-96. (in Thai)

Pongchinarit, W. 1997. The quality of life of people along both sides of San Saeb canal. M.A. Thesis, National Institute of Development Administration, Bangkok. 183 p. (in Thai)

Sahavacharin, A. and F. Likitswat. 2019. Landscape ecological structure of peri-urban agricultural area in Bangkok metropolitan region. Journal of Community Development and Life Quality 7(2): 180-191. (in Thai)

Songsiri, W. 2016. “Mahanak muslim community” in Lek-Prapai Viriyahpant foundation. (Online). Available: http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5137 (March 19, 2017). (in Thai)

Tongard, T. 2005. The role of public spaces in the communities along Saen Saeb Canal a case study of Talad Kao Minburi Community, Bangkok. M.U.E.P. Thesis, Kasetsart University, Bangkok. 160 p. (in Thai)