การสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2559

Main Article Content

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย
ฆนธรส ไชยสุต
พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์
หนึ่งหทัย ชัยอาภร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัย  เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาท้องถิ่น และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการแก้ปัญหา/พัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตัวอย่างได้แก่งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2559 จำนวน 87 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในแม่ฮ่องสอน และการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน และการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ ผลการศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3  และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)มากที่สุด องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่นมี 5 ด้าน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในแม่ฮ่องสอนมี 37 ปัจจัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ได้แก่ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ป่า น้ำ และหมอกควันจากไฟป่า

Article Details

How to Cite
[1]
สมุทร์ทัย ฤ., ไชยสุต ฆ., สังสุทธิพงศ์ พ. และ ชัยอาภร ห. 2020. การสังเคราะห์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2559. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 1 (ม.ค. 2020), 275–289.
บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2552. รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย : การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สิงหาคม 2559 ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด . https://www.nesdb.go.th/download/Plan12/plan12doc02.pdf (10 กุมภาพันธ์ 2560)
สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน. 2559. สรุปรายงานประจำปีจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2559. [ระบบออนไลน์] . แหล่งที่มา http://www.maehongson.go.th (10 กุมภาพันธ์ 2560)
องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. 2558. แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2559 – 2561) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. [ระบบออนไลน์] . แหล่งที่มา http://www.mhs-pao.com (1 กันยายน 2559)
อานนท์ บุณยะรัตเวช. 2549. การสร้างนักวิจัยในประเทศไทย. จุลสาร สวพ.ทร. 1(49), หน้า 29
Glass, G. V., Mcgaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-analysis in social research. Beverly Hills, LA: Sage
Gordon, T.J. 1999. Cross-impact method in Glenn, J.C. (Ed.). 1999. The Millennium Project : Future Research Methodology Version 1.0. Washington, DC : American Council for the United Nations
University. Retrieved from http://millennium-project.org. (1 September 2017)
Noblit, G.W. and Hare, R.D. 1988. Meta-Ethnography : Synthesizing Qualitative Studies. Newbury Park : Sage Publications.