ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบลพื้นที่ภาคเหนือ: กรณีศึกษาอําเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

วราภรณ์ บุญเชียง
พรชัย อ่อนสด
ศิวพร อึ้งวัฒนา
วิลาวัณย์ เตือนราษฏร์
เดชา ทําดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเกิดนโยบายสาธารณะในประเด็นการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบด้วย (1) กระบวนการเกิดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ กระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม กระบวนการทางศีลธรรม (2) กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ (3) การขยายผลนโยบายสาธารณะ รวบรวมข้อมูลโดยแนวคำถามแบบมีโครงสร้างในการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทำแบบสรุปและจัดหมวดหมู่ข้อมูล ประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการเกิดนโยบายสาธารณะฯ เกิดจากกระบวนทางปัญญา ได้แก่ การให้ความรู้ กระบวนการทางสังคม ได้แก่ ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย การประชาสัมพันธ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กระบวนการทางศีลธรรม ได้แก่ การคำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ สำหรับกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายฯ มีการสนับสนุนทางด้านวิชาการ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การสื่อสารเผยแพร่ข่าวสาร การนำเสนอทางเลือกของนโยบายสาธารณะ และการขยายผลนโยบายสาธารณะ ได้แก่ การทำให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามวิถีเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง จนปัจจุบันมีการบูรณาโดยการผสมผสานประเพณีวัฒนธรรมและธรรมชาติเชิงนิเวศประเด็นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ

Article Details

How to Cite
[1]
บุญเชียง ว., อ่อนสด พ., อึ้งวัฒนา ศ., เตือนราษฏร์ ว. และ ทําดี เ. 2020. ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบลพื้นที่ภาคเหนือ: กรณีศึกษาอําเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 1 (ม.ค. 2020), 56–67.
บท
บทความวิจัย

References

Anumanrajadon, M. (2005). Project management. Active print Co., Ltd. Bangkok. 392 p. (in Thai)
Anumanrajadon, M. (2013). Public policy. Kaneungnitkarnpim. Chiang Mai. 337 p. (in Thai)
Barraclough S. and H. Gardner. (2007). Analysing Health Policy: A Problem-oriented Approach. 1st ed. Churchill Livingstone Australia. Marrickville. 298 p.
Boonchieng, W. and P. Aree. (2017). Public policy. pp.221-230. In: A. Klunklin and W. Boonchieng (Ed.), Health. Promotion and Disease Prevention (5th ed.). Siampimnana, Chiang Mai. (in Thai)
Carrin G., K. Buse, K. Heggenhougen and S.R. Quah (2009). Health Systems Policy, Finance, and Organization. 1st ed. Academic Press Inc. San Diego. 464 p.
Chantarapidok, A. (2012). Process of Participatory Healthy Public Policy Formulation by The Local Health Assembly, Lamphun Province. Master’s thesis, Chiangmai University. (in Thai)
Cowley S. (2007). Community Public Health in Policy and Practice. 2nd ed. Bailièrre Tindall. London.400 p.
Jindawatthana, A. (2004). Development of participatory public health policy: The New paradigm of health promotion. National Health System Reform Office (HSRO). Bangkok. 31 p. (in Thai)
Mossialos, E., Courtin, E., Naci, H., Benrimoj, S., Bouvy, M., Farris, K., Noyce, P., Sketris, I. (2015). From "retailers" to health care providers: Transforming the role of community pharmacists in chronic disease management. Health Policy, 119 (5), pp. 628-639.
National health commission office. (2007). National Health Act, B.E. 2550. Sahaphattanaphaisarn, Bangkok. 16 p. (in Thai)
Tuanrat, W., et al. (2016). Lesson Learned Public Health Policy in Rim Ping sub-district Muang Lamphun district Lamphun province. Faculty of Nursing, Chiang Mai University. (in Thai)
Wasi, P. (2004). Public policy process. Mūnnithi Sāthāranasuk hǣng Chāt, Bangkok. 36 p. (in Thai)
World health organization. (2018). Health Policy. (Online). Available: https://www.who.int/topics/health_policy/en/ (December 10, 2018).