การศึกษาแนวทางพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลนาฝาย อําเภอเมือง จังหวัดชัยภูม

Main Article Content

ฐิติรดา เปรมปรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อศึกษาจำแนกข้อมูลศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักทางคติชนวิทยาและ 2) เพื่อนำหลักการทางคติชนประยุกต์หาแนวทางส่งเสริมและอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลนาฝายทั้ง 19 หมู่บ้าน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นนักปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 72 คน กลุ่มที่ 2 เป็นบุคคลสำคัญในชุมชน จำนวน 10 คน ร่วมกันประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด (SWOT Analysis) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางคติชนวิทยาของดอร์สันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม แนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในชุมชนตำบลนาฝาย ควรจัดหาสถานที่ใช้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจศึกษาและควรเผยแพร่การประยุกต์ใช้หลักคติชนวิทยาในการอนุรักษ์และเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
[1]
เปรมปรี ฐ. 2020. การศึกษาแนวทางพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลนาฝาย อําเภอเมือง จังหวัดชัยภูม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 1 (ม.ค. 2020), 42–55.
บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
งามนิจ กุลกัน. 2556. การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม
14(25): 18-30.
จรัญดา จันทร์แจ่ม และคณะ. 2557. แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชนไท-ยวน
ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(3): 159-175.
ชัชพล ทรงสุนทร และวงศ์พิทักษ์ ศิริวงศ์. 2560. การสร้างและการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมสู่การเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวของชาวมอญ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 11(1): 224-239.
นริศรา จันทร์เจริญสุข. 2558. แนวทางจัดการความรู้ของธุรกิจชุมชนบ้านกิ่วแลน้อยและบ้านกิ่วแลหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่.
วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1):49-56.
มณีวรรณ ชาตวนิช. 2555. การจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชนตลาดพลู เขตธนบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม 13(24): 16-32.
ศรีประไพ อุดมละมุล และคณะ. 2560. การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโบราณสถาน: กรณีศึกษาโบราณสถานบ้านจาเละ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 12(1): 56-72.
สุภา จำปาวัลย์ และธันยา พรหมบุรมย์. 2558. แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการบริการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมเชิงประวัติศาสตร์และ
วัฒนธรรมในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1):5-16.