การส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในอําเภอเมืองลําปางการส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในอําเภอเมืองลําปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในอำเภอเมืองลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดป่ารวก) รวม 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนมีความตระหนัก มีความพยายามในการพัฒนาคุณภาพทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน คณะครูผู้สอนมีความสนใจและเต็มใจเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา” 2) แบบประเมินการรายงานผลการพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ของครูผู้สอน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการ และ 4) แบบบันทึกสนทนากลุ่ม โดยเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณาความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยครูผู้สอนมีส่วนร่วมกับผู้วิจัยในทุกขั้นตอนของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ได้ผลสรุปการวิจัยดังนี้ การใช้กระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในอำเภอเมืองลำปาง พบว่า 1) ระยะการวางแผนปฏิบัติการวิจัย ครูผู้สอนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหานักเรียนร่วมกัน ร่วมกันวิเคราะห์วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ให้กับนักเรียนร่วมกัน จึงทำให้ได้แผนการปฏิบัติการสอดคล้องกับปัญหาที่ครูผู้สอนต้องการแก้ไขจึงเป็นผลให้การดำเนินการวิจัยได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากครูผู้สอน 2) การใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พบว่าครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น มีความพึงพอใจมากต่อการอบรมเชิงปฏิบัติในการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน และสามารถนำเอาองค์ความรู้ไปพัฒนานักเรียนได้ และ 3) ผลการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติในระยะประเมินผลการปฏิบัติการวิจัย พบว่าครูผู้สอนสามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้ดีขึ้น ครูผู้สอนได้ปรับเปลี่ยนบทบาทรวมถึงเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ทำให้ได้ผลการดำเนินการที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงมากที่สุด สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามบริบทและสภาพปัญหา รวมถึงได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งต่อไป
คำสำคัญ: การวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม ทักษะการคิดวิเคราะห์ นักเรียนระดับประถมศึกษา
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Phattha, N. 2001. Research in education and social Sciences. Aksorn Pipat, Bangkok. 376 P. (in Thai).
Wongsaphan, M. 2013. Raising the learning level of students with analytical thinking process. Journal of
Education Thaksin University 13 (2): 125-139. (in Thai).
Sriwicha, S. 2012. Participatory action research: Teacher Development in the Organizing Learning Activities
to Improve Students' Thinking Skills of Municipal School 2 "Choeng Chum Anuwitthaya" under
Office of Education Sakon Nakhon Municipality. Master of Education Thesis College Roi Et
Rajabhat University. (in Thai).
Sitthipon, M. 2011. The Development of a Learning Management Model Emphasizing Analytical Thinking in
the Science Learning Area. KKU Research Journal, 16(1): 72-82. (in Thai).
Office of Education Standards and Quality Assessment. 2007. Summary of synthesis results: External
quality assessment of educational institutions in basic education level, 2001-2005. (online).
Available: http://www.onesqa.or.th/th / home / index.php. (March 12, 2016),