การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาในกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองกำเนิดเพชร หมู่ 1 ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทอผ้าขาวม้า ปัญหา และความต้องการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอขาวม้าในกลุ่มทอผ้าบ้านกำเนิดเพชร หมู่ 1 ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทอผ้า บ้านกำเนิดเพชร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง และ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า ในกลุ่มทอผ้าบ้านกำเนิดเพชร สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นสนทนากลุ่ม และวิธีตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองกำเนิดเพชร จำนวน 11 คน สมาชิกในชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 29 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านกำเนิดเพชร สมาชิกมีโอกาสร่วมคิด ร่วมปรึกษา เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหา และมีโอกาสขยายทักษะความรู้ด้านต่าง ๆ ให้กว้างออกไป ร่วมกันแสวงหาแนวทางพัฒนาและการติดตามประเมินผลกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เกิดความตระหนักในคุณค่าทรัพยากร สร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้าพัฒนาคุณภาพในสินค้า OTOP อันจะช่วยให้ยอดในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ: ผ้าทอ ผ้าขาวม้า
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Jasminblanket Flower: a Case Study of WeavingEAVING FarmerARMER Housewife Group of Ban Nalao Tao Ngoi District Sakonnakon Province. Journal of Graduate Studies Journal of Graduate Studies 14(66): 71-79.
Chokbandansuk.W, Anuloke.K and Fhongprayoon.W. 2015. Competitive Strategy Development Based on Creative Economy for Tai-
Yuan Locally Woven Cloth in Ratchaburi Province. Journal Humanities and Social Sciences. 11(1): 17-32.
Kasonbao.T 2013. Development of OTOP products (One Tambon One Product: OTOP) For the export marketin ASEAN. Journal of
Humanities, Social Sciences 30(2): 1-20.
Leksuit.S. 2018. Local Wisdom of Habd-Woven Textitke Conservation in Accordance With Dharma Principles of Bann Nongnguak
Tetile Center, Mae Ragne, Pasang District Laphun. Academic Journal, Thonburi University. 12(29): 135-146.
Napasr.W and Sandchompoo.T 2018. Development of Key Success Factors for Participative Co-op Education Model. Journal of
Community Development and Life Quality. 1(2): 71-79.
Natheepayapthis.N. 2014. The Unique Identities of Pga K’nyau Hand Woven Textiles. Journal of Community Development and Life
Quality. 2(1): 113-121.
Ratchadaporn Ketanon Neawheangtham. 2018. The Guideline of the Local Wisdom Product Development for Promote
Creative Economy in Nakhon pathom Veridian Province. E-Journal Silpakorn University. 10(1): 994-1013.
Saetang.P. 2013. Values Added on Natural Dyed Woven Fabric by Natural Dyeing Process Using an Auxiliary Agent from Chae Son Hot
Spring, Mueang Pan District, Lampang Province. Journal of Community Development and Life Quality. 1(1): 9-27.