การใช้ผงแห้งจากเหง้าว่านค้างคาวบรรเทาอาการ กล้ามเนื้ออักเสบ

Main Article Content

ไชยยง รุจจนเวท
ณวัชพงศ์ ไชยรัตน์

บทคัดย่อ

ว่านค้างคาว (Tacca chantrieri Andre) เป็นพืชล้มลุกของเขตร้อน ที่มีการใช้แบบพื้นบ้าน เป็นทั้งอาหาร และยา การศึกษาที่ผ่านมาชี้ว่า สารซาโปนินในเหง้าของพืชชนิดนี้ มีฤทธิ์ระงับปวดและระงับการอักเสบ มีการพัฒนาสารสกัดจากว่านค้างคาวนี้ ให้เป็นผลิตภัณฑ์เจลและยาน้ำสำหรับพ่นเพื่อระงับการอักเสบแล้ว แต่การสร้างผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ต้องใช้ทั้งเงินทุนและศิลปะวิชาการ อันเป็นการยากที่ประชาชนทั่วไปจะผลิตขึ้นใช้เองได้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้วิธีการโดยง่าย ในการใช้เหง้าว่านค้างคาว บำบัดอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ ได้ทำการเก็บรวบรวมเหง้าว่านค้างคาวในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย วิเคราะห์ปริมาณสารออกฤทธิ์ด้วย GC/MS เตรียมน้ำยาที่มีสารซาโปนิน ร้อยละ 0.6 นำไปทดสอบกับอาสาสมัคร พบว่าให้ผลระงับปวดเป็นที่น่าพอใจ วิธีการเตรียมน้ำยาไม่ยุ่งยากซับซ้อน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ช้อน ขวดน้ำ เตาหุงต้ม ผ้าขนหนู สามารถหาได้ในครัวเรือนทั่วไป ท้ายที่สุดได้จัดให้มีการอบรมถ่ายทอดวิธีการบำบัดนี้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อที่จะได้นำวิธีการนี้ไปใช้ด้วยความมั่นใจ

Article Details

How to Cite
[1]
รุจจนเวท ไ. และ ไชยรัตน์ ณ. 2018. การใช้ผงแห้งจากเหง้าว่านค้างคาวบรรเทาอาการ กล้ามเนื้ออักเสบ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 1 (ก.ค. 2018), 91–96.
บท
บทความวิจัย

References

Huskisson, E. C. 1974. Measurement of pain. Lancet 2: 1127-1131.

Zhou, J., C. X. Chen, R. M. Liu and C. R. Yang. 1983. Studies on the chemical components of the Tacca Chanteraeri Andre. Acta Botanica Sinica 25(6): 568-573.

Keardrit, K., C. Rujjanawate and D. Amornlerdpison. 2010. Analgesic, antipyretic and anti-inflammatory effects of Tacca chantrieri Andre. Journal of Medicinal Plants Research 4(19): 1991-1995.

Scott, P.J. and E.C. Huskisson. 1976. Graphic representation of pain. Pain 2: 175-184.

Sudtiyanwimon, S., W. Niwatananun, S. Yotsawimonwat and S. Okonoki. 2010. Phytochemical and biological activities of Tacca chantrieri. Journal of Metals, Materials and Minerals 20(3): 179-183.

Yokosuka, Y., Y. Mimaki, H. Sakagami and Y. Sashida. 2002a. New diarylheptanoids and diarylheptanoid glycosides from the rhizomes of Tacca chantrieri and their cytotoxic activity. Journal of Natural Products 65: 283-289.

Yokosuka, A., Y. Mimaki and Y. Sashida. 2002b. Spirostanol saponins from the rhizomes of Tacca chantrieri and their cytotoxic activity. Phytochemistry 61(1): 73-78.

Yokosuka, A., Y. Mimaki, C. Sakuma and Y. Sashida. 2005. New glycosides of the campesterol derivative from the rhizomes of Tacca chantrieri. Steroids 70(4): 257-265.