ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง ต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลความสามารถในการทำกิจกรรมและการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดผลหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง ต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล ความสามารถในการทำกิจกรรม และการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกบินทร์บุรีและผู้ดูแลคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองผู้ดูแลได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อมระหว่างผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล และส่งเสริมความสามารถอย่างต่อเนื่องหลังจำหน่าย ภายใต้แนวคิดความเป็นพลวัตรในการดูแลของผู้ดูแลของวิลเลี่ยม (Williams, 2008) กลุ่มควบคุม ผู้ดูแลได้รับการส่งเสริมความสามารถตามปกติ ประเมินผลของโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 4 ด้วยแบบประเมินความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความสามารถใน การทำกิจกรรมระดับต่ำ และ ระดับปานกลาง แบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย และแบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ประกอบด้วย โรคปอดติดเชื้อ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และ การเกิดแผล กดทับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าทีแบบอิสระต่อกัน (independent t-test) และสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า
- เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการสอดใส่อุปกรณ์พิเศษ และดูแลผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการสอดใส่อุปกรณ์พิเศษ มีคะแนนความสามารถในการดูแลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (t = -10.08, df = 14, P<.001และ t = -4.53, df = 12, P<.001)
- เมื่อสิ้นสุดการทดลอง คะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -8.51, df = 28, P = .201)
- เมื่อสิ้นสุดการทดลอง จำนวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคปอดติดเชื้อ และแผลกดทับของผู้ป่วยกลุ่มทดลอง แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Fisher’s Exact test = 6.00, df =1, P = .021,c2 =11.56, df = 2, P = .003) ส่วนจำนวนการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ กลุ่มทดลองแตกต่างจาก กลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ (Fisher’s Exact test = 2.14, df = 1, P = .241)
ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอายุรกรรม สามารถนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นหายจากโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
จารึก ธานีรัตน์. 2545. ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถของผู้ดูแล ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์, สงขลา.
จินะรัตน์ ศรีรัตนภิญโญ. 2540. ผลการสอนและฝึกทักษะแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต่อ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
จุรี รัตนเสถียร. 2550. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.
ฉัฐยา จิตประไพ และ ภาริส วงศ์แพทย์. 2542. เวชศาสตร์ฟื้นฟูบูรณาการ. เรือนแก้วการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
นันทกา ภักดีพงษ์. 2553. ภาวะพร่องสมรรถภาพ ของผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยเรื่องหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
นิภาภัทร ภัทรพงษ์บัณฑิต. 2548. ผลของการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความ สามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์. 2552. ผลของการฟื้นฟูสภาพที่บ้าน ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ฝ่ายสถิติและเวชระเบียนโรงพยาบาลกบินทร์บุรี. 2553. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลกบินทร์บุรี. โรงพยาบาลกบินทร์บุรี, ปราจีนบุรี.
เพ็ญศรี สิริวรารมย์. 2550. สภาพการณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอเลือดสมองที่บ้านในอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วิษณุ กัมทรทิพย์. 2547. ความบกพร่องระบบประสาทสั่งการหน้า 95-127. ใน: กิ่งแก้ว ปาจารีย์ (บรรณาธิการ). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สถาบันเทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์ คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
สิรัชชา จิรจารุภัทร. 2551. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สมุทรปราการ.
สุธาพร ขจรฤทธิ์. 2547. ลักษณะการกลับมาอยู่รักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
อรัญญา ไพรวัลย์. 2550. ความต้องการของผู้ดูแลด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
อ้อมใจ แก้วประหลาด. 2552. การศึกษาการดูแลต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นครั้งแรก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สมุทรปราการ.
Adams, C. 2003. Quality of life fore caregivers and stroke survivor in the Immediate discharge period. Applied Nursing Research 16(2): 126-130.
Carod-Artal, F. J., D. S. Trizotto, L. F. Coral and C. H. Moreira. 2009. Determinants of quality of life in Brazilian stroke survivors. Journal of Neurological Sciences 284: 63-68.
Chan, C. K., D. W. Chan and S. K. Wong. 2009. Evaluation of functional independence for stroke survivors in the community. Asian J. Gerontol. Geriatr. 4(1): 24-29.
Flynn, R. W., R. S. MacWalter, M. R. and A. S. Doney. 2008. The cost of cerebral ischaemia. Neurophamacology 55: 250-256.
Grant, J. S., T. R. Elliott, M. Weaver, E. L. Elandon, J. L. Raper and J. N. Giger. 2006. Social support, social problem-solving ability and adjustment of amily caregiver of stroke survivors. Arch. Phys. Med. Rehabil. 87: 343-350.
Houts, S. P., M. A. Nezu and A. J. Bucher. 1996. The prepared family caregiver: a problem-solving approach to family caregiver education. Patient Education and Counseling 27: 63-73.
Manns, J. P., R. C. Tomtzak, A. Jelani, E. M. Cress and R. Haennel. 2009. Use continuous scale physical functional performance test in stroke survivor. Arch. Phys. Med. Rehabil. 90: 488-493.
Tan, W. S., B. H. Heng, K. S. Chua and K. F. Chan. 2009. Factor predicting inpatient rehabilitation length of stay of acute stroke patient in Singapore. Arch. Phys. Med. Rehabil. 90: 1202-1207.
Williams, L. A. 2008. Theory of caregiving dynamics. pp. 261-273. In: M.J. Smith and P. R. Liehr (eds.). Middle Range Theory for Nursing. Springer Publishing Company, New York.