ผลของการเสริมน้ำส้มควันไม้ดิบ และน้ำส้มควันไม้กลั่นในอาหารไก่เนื้อ

Main Article Content

บุญชู นาวนนุเคราะห์
ณิฐิมา เฉลิมแสน
อรรถพล ตันไสว
ณรงค์ นันต๊ะจันทร์
ธัญรัตน์ จารี
พรพล บุญดา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมของการเสริมน้ำส้มควันไม้ ในอาหารไก่เนื้อ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ใช้ลูกไก่กระทงแรกเกิดพันธุ์ Ross 208 จำนวน 300 ตัว แบ่งเป็น 15 กลุ่ม ๆ ละ 20 ตัว (เพศผู้และเมียเท่ากัน) สุ่มไก่แต่ละกลุ่มให้ได้รับอาหารทดลอง 5 สูตร ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ สูตรที่ 1 ไม่เสริมน้ำส้มควันไม้ (control) สูตรที่ 2 เสริมน้ำส้มควันไม้ดิบ 2.0 % สูตรที่ 3 เสริมน้ำส้มควันไม้กลั่น 2.0 % สูตรที่ 4 เสริมน้ำส้มควันไม้ดิบกับผงถ่าน (1:1) 4 %  และสูตรที่ 5 เสริมน้ำส้มควันไม้กลั่นผสมกับผงถ่าน (1:1) 4 % ผลการทดลองปรากฏว่า สมรรถภาพการผลิต ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กินต่อวัน  อัตราแลกเนื้อ และอัตราการรอดชีวิตของไก่ทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)  ส่วนต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนัก 1 กิโลกรัมของไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมน้ำส้มควันไม้กลั่นทั้งที่ไม่ผสม และผสมผงถ่านสูงกว่ากลุ่มอื่น (P<0.01)  ไก่ทุกกลุ่มมีคุณภาพซากไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นไก่ที่ได้รับอาหารผสมน้ำส้มควันไม้ดิบและผงถ่านมีเปอร์เซ็นต์ตับสูงที่สุด (P<0.05) จำนวนจุลินทรีย์โคลิฟอร์ม         ซัลโมเนลลา และแลกติก แอซิด แบคทีเรีย ในสิ่งขับถ่าย และลำไส้ของไก่ที่ได้รับอาหารทดลองทุกกลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)  ส่วนไก่ที่ได้รับการเสริมน้ำส้มควันไม้กลั่นเพียงอย่างเดียวมีจำนวนแลกติก แอซิด แบคทีเรียที่ลำไส้เล็กส่วนปลายมากกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05)  และพบว่าไก่เนื้อที่ได้รับอาหารเสริมน้ำส้มควันไม้ดิบผสมผงถ่าน 4 เปอร์เซ็นต์มีวิลไลในลำไส้เล็กสูงกว่ากลุ่มอื่น (P<0.01) ดังนั้น การเสริมน้ำส้มควันไม้ทั้งในรูปดิบ และกลั่นผสมผงถ่าน ในสูตรอาหารก็สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพไก่เนื้อได้ ซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการผลิตไก่เนื้ออินทรีย์ต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
นาวนนุเคราะห์ บ., เฉลิมแสน ณ., ตันไสว อ., นันต๊ะจันทร์ ณ., จารี ธ. และ บุญดา พ. 2018. ผลของการเสริมน้ำส้มควันไม้ดิบ และน้ำส้มควันไม้กลั่นในอาหารไก่เนื้อ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 2 (ก.ค. 2018), 111–121.
บท
บทความวิจัย

References

จิระพงษ์ คูหากาญจน์. 2552. คู่มือการผลิตถ่าน และน้ำส้มควันไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์เกษตรกรรมธรรมชาติ, กรุงเทพฯ. 80 หน้า.

ณิฐิมา เฉลิมแสน ยรรยง เฉลิมแสน ธัญรัตน์ จารี. 2553. การใช้น้ำส้มควันไม้ผสมผงถ่านในอาหารสุกรหลังหย่านม. ใน: รายงานประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 สาขาสัตว์. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นงลักษณ์ นพสุพรรณ. 2554. ผลการใช้น้ำส้มควันไม้ และกรดอินทรีย์ในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการผลิต การย่อยได้ของโภชนะ และจุลินทรีย์ในมูล. วิทยาศาสตรมหาบันฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 96 หน้า.

พุฒินันท์ พึ่งวงศ์ญาติ. 2545. น้ำส้มควันไม้ จากเตาเผาถ่าน. เทคโนโลยีชาวบ้าน 15 (301): 31-32.

ยะโก๊ะ ขาเร็มดาเบะ. 2556. การเลี้ยงแพะพื้นเมืองด้วยพืชสมุนไพรขี้เหล็ก และวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตรตามวิถีมุสลิม ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 115-123.

เริงนภรณ์ โม้พวง วาสนา ชัยเสนา อรรถพล ตันไสว ยรรยง เฉลิมแสน และขนิษฐา ท่วงที. 2555. สมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำส้มควันไม้มะขาม. วิทยาศาสตร์เกษตร 43(2) (พิเศษ): 657-660.

วิโรจน์ จันทรัตน์. 2537. กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ปีก. ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 898 หน้า.

สรรเพชญ อังกิติตระกูล และนริศร นางาม. 2551. ผลของน้ำส้มควันไม้ต่อเชื้อซัลโมเนลลา และอีโคไลในหลอดทดลอง. ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 9 คณะสัตวแพทย์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุพรชัย มั่งมีสิทธิ. 2550. น้ำส้มควันไม้ผลพลอยได้จากธรรมชาติ. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม. 57 หน้า.

อรุณ คงแก้ว. 2550. น้ำส้มควันไม้. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.dss. go.th/dssweb/ st-articles/files/ct_11_2550_wood-vinegar.pdf (29 พฤศจิกายน 2551).

Downes, F.P. and K. Ito. 2001. Compendium of Methods for the Microbio logical Examination of Foods 4th ed. American Public Health Association, Washington D.C. 677 p.

Mengesha, M and S. Abda. 2010. Performance and carcass characteristics of broilers fed selected energy source feeds. Journal of Applied Poultry Research 3: 54-57.

NRC. 1994. Nutrient Requirements of Poultry. 9th revised edition. National Academy Press, Wachington D.C. 155 p.

Samanya, M. and K. Yamauchi. 2002. Morphological demonstration of the stimulative effects of charcoal powder including wood vinegar compound solution on growth performance and intestinal villus histology in chickens. (Online). Available: http://wwwsoc.nii.ac.jp/ jpsa/jabst-e/2002/02%20eabst/02-42.html. (September 12, 2008).

SAS. 1990. SAS/STAT User’s Guide (Vol. 2). Version 6, 4th ed, SAS Institute, Inc., Cary, North California, USA.

Watarai, S. and Tana. 2005. Eliminating the carriage of Salmonella enterica serovar Enteritidis in domestic fowls by feeding activated charcoal from bark containing wood vinegar liquid (Nekka-Rich). Journal of Applied Poultry Research 84(4): 515-521.