การพัฒนาแผนการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อรณรงค์ การท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

Main Article Content

ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเรื่องการพัฒนาแผนการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพและภูมิประเทศของพื้นที่ในชุมชนบ้านหินตั้ง จังหวัดนครนายก 2) ศึกษาปัญหาด้านการสื่อสารเพื่อการรณรงค์การท่องเที่ยวของกลุ่มบริการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) เสนอแนะแนวทางการวางแผนการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อการท่องเที่ยวของกลุ่มบริการการท่องเที่ยวบ้านหินตั้ง จังหวัดนครนายก  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มบริการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง ผู้ประกอบการเอกชน หน่วยงานรัฐและผู้เกี่ยวข้อง  ผลการวิจัยพบว่าตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มีศักยภาพในเรื่องของผู้นำชุมชน สมาชิกกองทุนในชุมชน ผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่น ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพหลากหลาย และยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย เช่น น้ำตก เขื่อน แหล่งเรียนรู้ สวนผลไม้และสมุนไพร กิจกรรมผจญภัยอีกมายมาย สิ่งเหล่านี้เป็นแหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่หินตั้ง แต่อย่างไรก็ตามชุมชนบ้านหินตั้งยังมีปัญหาด้านการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ องค์ความรู้ด้านการวางแผนการสื่อสาร การเผยแพร่ข่าวสารการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ขาดการร่วมมือและประสานงานที่เป็นเชิงบูรณาการจาก  ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานการวางแผนเชิงบูรณาการด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มบริการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง ได้แก่ การจัดทำโครงสร้างความรับผิดชอบให้ชัดเจน การปรับปรุงสื่อและกิจกรรมตามแผนการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวทุก 6-12 เดือน การติดตามและสร้างเครือข่ายของชุมชน เพื่อการรณรงค์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
มหาสินไพศาล ท. 2018. การพัฒนาแผนการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อรณรงค์ การท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 2 (ก.ค. 2018), 31–40.
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2556. ข้อมูลสำรวจการท่องเที่ยว ปี 2552. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. etatjournal.com/web/ (29 มิถุนายน 2556).

ไทยตำบลดอทคอม. 2556. ข้อมูลทั่วไปของชุมชนบ้านหินตั้ง จังหวัดนครนายก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. thaitambon.com/ (29 มิถุนายน 2556).

พนัส เกตุสมพงษ์. 2553. รายงานพัฒนาตำบลหินตั้งจังหวัดนครนายก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www3.cdd.go.th/nakhonnayok/files/TDR_CD YN.53_Hin Tang .pdf ( 29 มิถุนายน 2556).

มติชนออนไลน์. 2556. ตะลุยหลาก แอคทิวีตี้ สุดตื่นเต้น ใกล้กรุงแค่เนี้ย! ที่ "ชุมชนหินตั้ง @ นครนายก". (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.matichon.co.th/ news_detail.php?newsid (29 มิถุนายน 2556).

รัตนา สายคณิต. 2547. การบริหารโครงการ แนวทางสู่ความสำเร็จ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 348 หน้า.

โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล. 2556. การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยชุมชน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 53-65.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. 2556. การจัดการท่องเที่ยวโดยชุม ชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.cbt- i.org /cbtstandardforum/ (10 สิงหาคม 2555).

สุธรรม รัตนโชติ. 2552. พฤติกรรมองค์กรและการจัดการ. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ.496 หน้า.

สุดาทิพย์ นันทโชค. 2555. พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตจังหวัดสิงห์บุรีของผู้สูงอายุ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://mba.swu.ac.th/ (15 มิถุนายน 2555).

อุทัยศรี ประมวลทรัพย์ และคณะ. 2556. กลุ่มบริการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง จังหวัดนครนายก. สัมภาษณ์. 10-11 พฤษภาคม 2556.

Cutlip, S. M. and A. H. Center. 1978. Effective Public Relations. 5th ed. Prentice Hall, Englewood Cliffs, New Jersey.