การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก

Main Article Content

สุกัญญา ดวงอุปมา
ภัทรพร ภาระนาค

บทคัดย่อ

การศึกษาการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะการทอเสื่อกก โดยทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research - PAR) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาภาคสนาม (field study) กลุ่มตัวอย่าง (sample) ได้แก่ ชาวบ้านคำไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) จากการศึกษาพบว่าองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกในอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้านวัสดุและอุปกรณ์ ด้านกระบวนการทอเสื่อกก ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการอนุรักษ์ลวดลายการทอเสื่อกก ควรให้มีการส่งเสริมให้ความรู้และพัฒนาทักษะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน สังคม ชุมชน เกิดความรักความสามัคคี ตลอดจนการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอเสื่อกกต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
ดวงอุปมา ส. และ ภาระนาค ภ. 2018. การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 3 (ก.ค. 2018), 195–203.
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา พิมลศรี และอดิศร เรือลม. 2556. ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนภูซาง จังหวัดพะเยา ในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 7-19.

คณะกรรมการอำนวยการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย. 2549. คู่มือการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.

ชลธี เจริญรัฐ. 2547. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

ชูเกียรติ ลีสุวรรณ. 2535. ระบบการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นชนบทภาคเหนือ. รายงานการวิจัยเชียงใหม่. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2540. วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ณรงค์ สมพงษ์ ศศิฉาย ธนะมัย และสุรชัย ประเสริฐสรวย. 2555. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาการศึกษา และอาชีพการเกษตรในท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 27(1): 97-109.

ทรงคุณ จันทจร. 2555. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการจัดการการผลิตเสื่อกกเชิงพาณิชย์ จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.

บุญชม ศรีสะอาด. 2543. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.

ปวินรัตน์ แซ่ตั้ง. 2556. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ โดยการใช้ สารช่วยย้อม จากน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อําเภอเมืองปาน จังหวัดลําปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 9-22.

ปนัดดา พูนทองหลาง. 2548. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากต้นกกของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านระกาศ หมู่ 4 ตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, กรุงเทพฯ.

ประเวศ วะสี. 2533. การสร้างคลังภูมิปัญญาไทยเพื่อการศึกษา. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เนื่องในงานวัฒนธรรมพื้นบ้าน 33 เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้าน. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

ยุพาวดี น้อยวังคลัง และพิทักษ์ น้อยวังคลัง. 2543. การศึกษากระบวนการย้อมสีเส้นกกด้วยสีธรรมชาติ กับสีวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทอ รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์. 2556. การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// www.kalasin.go.th/ (8 กันยายน 2556).

สุชาดา จักรพิสุทธิ์. 2547. การศึกษาทางเลือกของชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 27 (4): 18 – 23.

องค์การบริหารส่วนตำบล. 2554. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ.