แนวทางพัฒนาชุมชนต้นตาลเพื่อเตรียมรับภาวะโลกร้อนในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

สุวจี แตงอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาชุมชนเพื่อเตรียมรับภาวะโลกร้อนในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การศึกษาเอกสารชุมชน การจัดประชุมโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประชาพิจารณ์ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนไม่มีปัญหาด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจและด้านคุณลักษณะตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประชากรในระดับน้อย แนวทางพัฒนาชุมชนเพื่อเตรียมรับภาวะโลกร้อนในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบไปด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 7 แนวทาง 17 โครงการ ผลการดำเนินโครงการในช่วง 6 เดือน พบว่าสามารถปฏิบัติตามได้จริง 16 โครงการ โดยปัญหาด้านเศรษฐกิจและด้านคุณลักษณะตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประชากรลดลง จากนั้นจึงมีการปรับปรุงแนวทางพัฒนาชุมชนเพื่อเตรียมรับภาวะโลกร้อนในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เพิ่มเป็น 22 โครงการ

Article Details

How to Cite
[1]
แตงอ่อน ส. 2018. แนวทางพัฒนาชุมชนต้นตาลเพื่อเตรียมรับภาวะโลกร้อนในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 1 (ก.ค. 2018), 23–35.
บท
บทความวิจัย

References

จีรศักดิ์ ปาลีพงศ์พันธุ์. 2545. การวิเคราะห์ความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.

ทรงสมัย สุทธิธรรม. 2550. โลกร้อน ฤาจะถึงกาลสิ้นยุค. สำนักพิมพ์เพทาย, กรุงเทพฯ. 125 หน้า.

ประทีป พืชทองหลาง และอภิริยา นามวงศ์พรหม. 2556. รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มผู้ผลิตโคมล้านนา ชุมชนเมืองสาตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 129-139.

ประพันธ์ ภักดีกุล. 2549. รูปแบบและปัจจัยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. โรงพิมพ์ไอเดียสแควร์, กรุงเทพฯ.

วิศาล ทำสวน. 2551. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาหมู่บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วันฟ้าใส (นามแฝง). 2551. มหันตภัยโลกร้อน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ. 129 หน้า.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 2551. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2551-2555. กรุงเทพฯ. 63 หน้า.

ส่วนวิจัยและพัฒนาภาวะโลกร้อน. ม.ป.ป. ภาวะโลกร้อน. เอกสารแผ่นพับ. สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ. 6 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่, กรุงเทพฯ. 28 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ม.ป.ป. แผนงานวิจัยและกลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553). บริษัท อาร์ตแอนด์พาร์ท อัพเดท จำกัด, กรุงเทพฯ. 62 หน้า.

สำนักงานจังหวัดสระบุรี. 2552. ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสระบุรีระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2552-2555) (ปรับปรุงครั้งที่4: 28 มีนาคม 2551). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.saraburi.go.th /saraadmin/admin_control/main/file_attach/04-06-08-51stg52-55.doc (5 มกราคม 2552).

อัศมน ลิ่มสกุล. 2551. การปรับเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สูตรสำเร็จในการยับยั้งและตั้งรับกับวิกฤตโลกร้อน. Green Research 5(10): 2-4.