รูปแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

สมบัติ ประจญศานต์
วิสาข์ แฝงเวียง
ปิยชนม์ สังข์ศักดา
กิตติฤกษ์ ปิตาทะสังข์

บทคัดย่อ

รูปแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัย  การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทำงานเสมือนจริงในการศึกษาและนำเสนอแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารพื้นถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์และทำการประเมินระหว่างโครงการและประเมินหลังสิ้นสุดโครงการโดยอาศัยเครื่องมือ ได้แก่  แบบสังเกต  แบบประเมิน และประเด็นคำถามในการจัดเวทีสรุปบทเรียน โดยเทคนิค A.A.R. ทำการประเมินจากกลุ่มนักศึกษา กลุ่มอาจารย์ผู้สอน และกลุ่มชุมชนเจ้าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น  ผลการวิจัยระบุว่านักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการวิจัยทางสถาปัตยกรรม   พื้นถิ่นกระตือรือร้นต่อกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการมากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม เกิดสำนึกรักถิ่น  เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยชุมชนมีความพึงพอใจในภาพรวมของผลงานในระดับดี และมีความตระหนักถึงความสำคัญและเกิดแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในระดับดี

Article Details

How to Cite
[1]
ประจญศานต์ ส., แฝงเวียง ว., สังข์ศักดา ป. และ ปิตาทะสังข์ ก. 2018. รูปแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 2 (ก.ค. 2018), 215–224.
บท
บทความวิจัย

References

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(2): 1-5.

ยุทธศาสตร์ ถาปาลบุตร. 2546. แนวทางการเรียนการสอนวิชาออกแบบสถาปัตย กรรมโดยกระบวนการแก้ปัญหาและการสืบค้น กรณีศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วิจารณ์ พานิช. 2557. บทบาทอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. บรรยายพิเศษในประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 2 HERP CONGRESS II (The Second Higher Education Research Promotion Congress) วันที่ 22 มกราคม 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพฯ.

วีรพันธุ์ ชินวัตร. 2547. คิดดัง ๆ: ใครว่า “เก่า” อยู่กับ “ใหม่” ไม่ได้ ?. อาษา 47(02–03): 102 – 105.

สมบัติ ประจญศานต์. 2551. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2551. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2556). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.