การสร้างนักออกแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีความเป็น อัตลักษณ์ล้านนาต่อการพัฒนาแฟชั่น ในระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

รจนา ชื่นศิริกุลชัย

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบสัญลักษณ์สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนาและนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย การพัฒนานักออกแบบแฟชั่นในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีความความสามารถในการสะท้อนอัตลักษณ์ล้านนาตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และการนำสินค้าแฟชั่นที่สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนาสู่ตลาดสากล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยประยุกต์ การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและใช้แบบบันทึกการสังเกตแบบมีสวนร่วมโดยไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ และแบบสังเกตทางกายภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการสนทนากลุ่มกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าแต่งไทยบ้านสันมะนาวอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ได้พัฒนารูปแบบสัญลักษณ์สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนาโดยนำเอาความเป็นอัตลักษณ์ล้านนา เชียงใหม่  ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมออกแบบเป็นสัญลักษณ์ผ่านกระบวนการออกแบบสัญลักษณ์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์


สัญลักษณ์ ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้ในการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย  จากโครงสร้างชุดเครื่องแต่งกายประจำชาติไทย (ไทยพระราชนิยม) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไทยอมรินทร์ ไทยจิตรลดา ไทยบรมพิมาน ไทยจักรพรรดิ ไทยจักรี ไทยเรือนต้น ไทยศิวาลัย และไทยดุสิต พร้อมทั้งนำเสนอสินค้าแฟชั่นที่สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนาสู่ตลาดสากล ในการจัดบูธและแสดงแฟชั่น ณ สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับผลการประเมินในความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายถึงร้อยละ 90 นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการต่อเนื่องให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน พัฒนาแนวคิด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตนเองและสามารถที่จะต่อยอดรูปแบบแฟชั่น ด้วยเทคนิคการเข้าถึงด้วยตนเอง กับการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย เครื่องประกอบการแต่งกายและการออกแบบเคหะสิ่งทอในรูปแบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
ชื่นศิริกุลชัย ร. 2018. การสร้างนักออกแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีความเป็น อัตลักษณ์ล้านนาต่อการพัฒนาแฟชั่น ในระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 2 (ก.ค. 2018), 141–151.
บท
บทความวิจัย

References

ดนัย เรียบสกุล. 2556. การพัฒนากระบวนการออกแบบชุดประจำชาติไทย สำหรับการนำเสนอระดับนานาชาติ. วารสารไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์. 2554. การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับพลอยเนื้ออ่อนของวิสาหกิจชุมชนกาญจนบุรี เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

ปวินรัตน์ แซ่ตั้ง. 2556. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติโดยการใช้สารช่วยย้อมจากนํ้าพุร้อนแจ้ซ้อน อําเภอเมืองปาน จังหวัดลําปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 9-22.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2546. อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์และความเป็นชายขอบ. แปลน พริ้นติ้ง จำกัด, กรุงเทพฯ.

สุภาพร คงศิริรัตน์. 2548. อัตลักษณ์ วิถีความคิดของคนไทยและคนลาวจากวรรณกรรมแบบเรียน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.