การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟ และคุณภาพของกาแฟ ชุมชนบ้านสันเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

Main Article Content

ปิยะนุช สินันตา
พิกุล สุรพรไพบูลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟ และคุณภาพของกาแฟชุมชนบ้าน สันเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม จัดการองค์ความรู้ ที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล และในชุมชน เกี่ยวกับการผลิตกาแฟและคุณภาพของกาแฟ ด้านการคัดสรรพันธุ์กาแฟ วิธีการปลูก การดูแลรักษาการเก็บเกี่ยว การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคั่ว และกาแฟคั่วบด  และเพื่อพัฒนาศักยภาพ การผลิตกาแฟและคุณภาพของกาแฟ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟสวนยาหลวงจำนวน  30 ราย มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ใช้กระบวนการจัดการความรู้  เทคนิคการประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติ การสรุปประเมินผลหลังกิจกรรม การรวบรวมองค์ความรู้ และการจัดการความรู้ ใช้วิธีบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลของเกษตรกรบ้าน สันเจริญ ถูกระบุและยกระดับความรู้ออกมาเป็นความรู้ที่เปิดเผยชัดแจ้ง สามารถจับต้อง ศึกษา และพัฒนาได้  เมื่อผ่านกระบวนการจัดการความรู้ มีเวทีสำหรับการบ่งชี้ความรู้ ขุดค้น รวบรวม จัดหมวดหมู่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับกระบวนการผลิต การรักษาและพัฒนาคุณภาพของกาแฟ  ตั้งแต่ กระบวนการปลูก ได้แก่ การคัดสรรพันธุ์ การดูแลบำรุงรักษา การเก็บผลผลิต กระบวนการแปรรูปกาแฟ ได้แก่ ขั้นตอนการล้าง การหมัก การกะเทาะเปลือก การสีสารกาแฟ การคั่ว การบด การชง  จนถึงกระบวนการบริหารจัดการ การตลาด การจำหน่ายผลผลิตกาแฟในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ผลกาแฟเชอรี่  กาแฟกะลา กาแฟสาร  กาแฟคั่วบด  และเครื่องดื่มกาแฟสด  2) การเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟ และคุณภาพของกาแฟ ต้องเพิ่มขีดความสามารถด้านการแปรรูป การรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์กาแฟให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของตลาด  การคัดเกรดตามเกณฑ์สากล มาตรฐานความชื้น การผลิตตามหลักสุขอนามัย การเก็บรักษาผลผลิตที่เหมาะสม  และพัฒนาด้านการบริหารจัดการกิจการ ได้แก่ การตั้งเกณฑ์เพื่อควบคุมวัตถุดิบที่ป้อนเข้ากระบวนการแปรรูป การเรียนรู้กลไกการตลาด การเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับคู่ธุรกิจ เพิ่มความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ สร้างความสามัคคี กลมเกลียว ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของสมาชิก ยึดหลักความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล และ 3)  การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีส่วนในการกระตุ้นให้กลุ่มเกษตรกรรับรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของตนเองและกลุ่ม ด้วยการยกระดับความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่ละคน แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเปิดโอกาสให้เกษตรกรทุกคนของบ้านสันเจริญเข้ามามีส่วนร่วม  

Article Details

How to Cite
[1]
สินันตา ป. และ สุรพรไพบูลย์ พ. 2018. การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟ และคุณภาพของกาแฟ ชุมชนบ้านสันเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 3 (ก.ค. 2018), 325–331.
บท
บทความวิจัย

References

นันทรัตน์ นามบุรี. 2545. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการ ตลาดและการสร้างระบบบัญชีสำหรับธุรกิจชุมชน กรณีศึกษาการผลิตกาแฟพื้นเมือง บ้านกาแป๊ะฮูลู อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.

บัณฑูรย์ วาฤทธิ์. 2548. การปลูกกาแฟอาราบิก้าบนที่สูง (คู่มือปฏิบัติการ). คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิจารณ์ พานิช. 2548. การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.). สุขภาพใจ, กรุงเทพฯ.

วิจารณ์ พานิช. 2556. ทศวรรษเพื่อการพัฒนาระบบงานวิชาการรับใช้สังคม. วารสารฯการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 1-7.

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 133-139.

เสรี วิศววงศ์พันธ์ และสมใจ สมศิริ. 2551. “กลุ่มแปรรูปกาแฟสวนยาหลวง บ้านสันเจริญ หมู่ที่ 6 ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน”. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://nan.doae.go.th/km/km31.pdf (5 มิถุนายน 2551).