การอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยโดยชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยโดยชุมชนมีส่วนร่วม และนำเสนอโอกาสและความท้าทายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนที่อยู่อาศัยโดยรอบเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 9 หมู่บ้าน 244 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่ชุ่มน้ำมีความตระหนักต่อนโยบายและแผนการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย และยังรับรู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยคาดหวังให้มีการพัฒนาพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีการดำเนินการโดยชุมชน อีกทั้งการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยยังมีผลกระทบเชิงบวกต่อรายได้จากการค้าขายของครัวเรือนและมีผลกระทบเชิงลบต่อพื้นที่เกษตรกรรมเช่นกัน ส่วนโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามข้อกำหนดขององค์การการท่องเที่ยวโลก 4 ประการ ได้แก่ 1) การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) สร้างความตระหนักต่อการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยและพื้นที่ชุ่มน้ำ 3) บรูณาการแผนงานและนโยบายด้านการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวทุกระดับ และ 4) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยและการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าชุมชนควรสร้างกลไกการทำงานในรูปแบบของคณะกรรมการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อผลักดันข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติและเชิงนโยบายต่อการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
คณะวิทยาศาสตร์. 2552. การประเมินพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมสำหรับเตรียมปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทย. โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อทดลองปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากการเพาะเลี้ยงกลับคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย. คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 53 หน้า.
ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี. 2550. ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 325 หน้า.
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. 2556. คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน มหาวิทยาลัยพายัพ, เชียงใหม่. 64 หน้า.
สมนึก ปัญญาสิงห์ เศกสรรค์ ยงวณิชย์ และพุทธรักษ์ ปราบนอก. 2557. ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 11-22.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 137 หน้า.
องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด. 2552. แผนพัฒนาสามปี ประจำปี พ.ศ. 2553-2555. องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด, บุรีรัมย์. 84 หน้า.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบัว. 2552. แผนพัฒนาสามปี ประจำปี พ.ศ. 2553-2555. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบัว, บุรีรัมย์. 64 หน้า.
องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกโพรง. 2552. แผนพัฒนาสามปี ประจำปี พ.ศ. 2553-2555. องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกโพรง, บุรีรัมย์. 69 หน้า.
Suwanna, A. 2012. Factors affecting community paradigms for eastern sarus crane reintroduction at Huai Jorakae Mak non-hunting area, Buri Ram province. Mahidol University, Nakhon Pathom. 88 p.
Archibald, G.W., K.S. Gopi Sundar and J. Barze. 2003. A review of the three subspecies of sarus crane Grus antigone. Journal of Ecological Society 16: 5-15.
Adam, A. and M. Kaosa-ard. 2008. Mekong Tourism: Competitiveness & Opportunities. Social Research Institute. Chiang Mai University, Chiang Mai. 277 p.
IUCN. 2012. IUCN Red List for birds. (Online). Available: http://www.iucn redlist.org/apps/ redlist/search (January 12, 2012).
Meine, C., D. and G.W. Archibald. 1996. The Cranes: Status Survey and Conservation Action Plan. IUCN, Gland, Switzerland and Cambridge. 294 p.
Northcote, E. M. 1984. Crane Grus fossils from the Maltese Pleistocene. Palaeontology 27: 729-735.
Pain, D.J., R. Gargi, A. Cunningham, A. Jones and V. Prakash. 2004. Mortality of globally threatened sarus cranes Grus antigon from monocrotophos poisoning in India. Science of the Total Environment 326: 55-61.
Sanguansombat, W. 2005. Thailand Red Data: Birds. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, Bangkok. 158 p.
The Secretariat of the Ramsar Convention on Wetlands and the World Tourism Organization (UNWTO). 2012. Destination Wetlands: Supporting Sustainable Tourism. Secretariat of the Ramsar Convention on Wetlands, Gland, Switzerland & World Tourism Organization (UNWTO), Madrid.
Van Der Schans, M.L. 2006. An ecosystem approach to fire and water management in Tram Chim National Park, Vietnam. MWBP. Vientianne. 29 p.
Walkinshaw, L.H. 1973. Cranes of the world. Winchester Press, New York.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Harper International Edition, Tokyo.