การบริหารจัดการกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เทียน เลรามัญ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกิจการของกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ที่เหมาะสมกับบริบทของสมาชิกชุมชน แสวงหารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับกลุ่มตามหน้าที่ทางการจัดการ โดยการมีส่วนร่วมชองชุมชน และเพื่อวิเคราะห์การดำเนินงานของกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ตามแนวทางการบริหารธุรกิจ โดยผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มสมาชิกโครงการผักอินทรีย์ชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นให้สมาชิกกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดกิจการของกลุ่มผักอินทรีย์ที่เหมาะสมกับบริบทของสมาชิกชุมชนคือการจัดกลุ่มโครงการภายใต้ชื่อ “โครงการ SML พ.ศ. 2555 กลุ่มผักปลอดภัยหนองป่าครั่ง ดำเนินการโดยคณะกรรมการ 2 ระดับ คือ ระดับคณะกรรมการบริหารงาน และระดับคณะผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้การบริหารจัดการที่เหมาะสมกับกลุ่มตามหน้าที่ทางการจัดการมีกระบวนการสำคัญ 4 ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การชี้นำ และการควบคุม ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มตามแนวทางการบริหารธุรกิจ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาดและจัดซื้อ และฝ่ายการเงิน-บัญชี โดยแบ่งรูปแบบการบริหารจัดการตามโครงสร้างแบบแบ่งตามหน้าที่

Article Details

How to Cite
[1]
เลรามัญ เ. 2018. การบริหารจัดการกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 3 (ก.ค. 2018), 309–318.
บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ. 2554. รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง: กรณีศึกษากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช . 2554. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษบ้านจำ หมู่ที่ 6 ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ลำปาง.

จำเนียร บุญมาก ประเสริฐ จรรยาสุภาพ วิยะดา ชัยเวช ศิริกุล ตุลาสมบัติ ดลกร ขวัญคำ และสัญญา พันธุ์แพง. 2553. การพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

จิระ คำบุญเรือง. 2556. การพัฒนากระบวนการจัดการรายจ่ายและเพิ่มรายได้ครัวเรือนของชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยพายัพ, เชียงใหม่.

ธำรงค์ พันธุตะ. 2550. การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยทราย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, ลพบุรี.

พรรณนุช ชัยปินชนะ. 2557. การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 37-48.

สมคิด บางโม. 2555. องค์การและการจัดการ. บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด, กรุงเทพฯ.

อเนก ชิตเกษร. 2556. การสำรวจความรู้ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยพายัพ, เชียงใหม่.