ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการ วิเคราะห์การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการจัดการของวิสาหกิจชุมชนสนธิวัฒน์ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ประธาน รองประธาน ที่ปรึกษา เลขานุการ เหรัญญิก กรรมการ จำนวน 8 คน และสมาชิกกลุ่ม จำนวน 22 คน ผลการศึกษา พบว่ามีการบริหารจัดการสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล ในส่วนการบริหารจัดการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการคน ด้านการจัดการผลิต ด้านการจัดการตลาด และด้านการเงิน พบว่า ด้านการบริหารจัดการคนมีการรวมกลุ่มที่มีความเข้มแข็งอันเกิดจาก จิตสาธารณะและมีพัฒนาความสามารถในการทำงาน ด้านการจัดการผลิตมีกระบวนการผลิตที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ด้านการจัดการตลาดส่วนใหญ่มีการจัดจำหน่ายเองในชุมชนและรายการสั่งซื้อของลูกค้าเป็นหลัก ด้านการเงินมีเงินทุนหมุนเวียนแต่ไม่ได้เน้นการสะสมทุน ในส่วนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายต่าง ๆ แต่เป็นในลักษณะยืดหยุ่น มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามรายการสั่งซื้อของลูกค้า ยังไม่มีแนวคิดยกระดับธุรกิจ และได้สังเคราะห์เสนอความคิดเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและการพัฒนา คือ “PEACEACT” หรือ สุขกระทำ (การมีส่วนร่วม/ความเสมอภาค/การกำหนดข้อตกลง/ความคิดสร้างสรรค์/ความประหยัด/ความตระหนัก/การเอาใจใส่/ความโปร่งใส) สำหรับปัญหา พบว่า สมาชิกเป็นผู้สูงอายุอาจจะทำให้ขาดแรงงานรุ่นใหม่ในอนาคต การผลิตเป็นแบบกึ่งครัวเรือน มีช่องทางการตลาดน้อย ยังมีเงินทุนไม่มากพอและขาดกระบวนการจัดการที่เป็นระบบ
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. 2544. การจัดการกลุ่มสะสมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่.วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5(1): 37-62.
นวลน้อย ตรีรัตน์. 2549. สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน กับแผนการพัฒนาฯ ฉบับที่ 10. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http//:www.matichon.co.th/ matichon/ma tichon_detial (20 ตุลาคม 2557).
ศุภชัย เมืองรักษ์ และสุรีพันธุ์ เสนานุช. 2546. คู่มือเทคนิคการเพิ่มผลผลิตในชุมชนเข้มแข็ง: ธุรกิจชุมชน. สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 26 หน้า.
ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. 2556. ปัจจัยสู่ความสําเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับ การคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 31-41.
สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 133-139.
สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ และไพศาล บรรจุสุวรรณ์. 2557. ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี. 99 หน้า.
Drucker, P.F. 2002. The Effective Executive. Haper & Row, New York. 182 p.
Marquardt, M.J. 2002. Building the Learning Organization. 2nd ed. Davies-Black Publishing, Palo Alto, CA. 287 p.