ประสิทธิผลของการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านระบบความปลอดภัย ในการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย

Main Article Content

นิเวศ ธรรมชัยชูศักดิ์
การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย ภาคที่ 8 (ตามแนวทางการศึกษาข้อตกลงของยุโรปฯ 2) เพื่อศึกษาระดับขีดความสามารถของบุคลากร ด้านระบบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางด้านระบบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย 4) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านระบบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายและ 5) เพื่อศึกษาขีดความสามารถของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาขีดความสามารถ ใช้ระเบียบแบบแผนวิธีวิจัยเชิงผสมโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการชำนาญการ กรมการขนส่งทางบก นักวิชาการประจำสาขาวิชาโลจิสติกส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย (DGSA) สมาชิกภายในสมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย จำนวน 34 คนและพนักงานขับรถบรรทุกวัตถุอันตราย จำนวน 193 คน รวมจำนวน 12 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเห็นด้วยกับการนำข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายมาปรับปรุงคู่มือสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 4 2) พบว่า “ความรู้ด้านขีดความสามารถ” ของพนักงานขับรถบรรทุกวัตถุอันตราย ในภาพรวมมีระดับความรู้อยู่ในระดับสูง โดยตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ “ความรู้ด้านขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้” 3) ปัญหาและอุปสรรคทางด้านระบบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายส่วนใหญ่มาจากพนักงานขับรถ อาทิ ปัญหาทางด้านทัศนคติ ด้านพฤติกรรมและวัฒนธรรมที่ดีของพนักงานขับรถ 4) ประสิทธิผลของการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านระบบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ ประสิทธิผลทางด้านความน่าเชื่อถือและ 5) การพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานขับรถบรรทุกสินค้าอันตรายส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิผลของการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านระบบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
[1]
ธรรมชัยชูศักดิ์ น. และ รัตนแสนวงษ์ ก. 2018. ประสิทธิผลของการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านระบบความปลอดภัย ในการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 1 (มิ.ย. 2018), 45–59.
บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. 2555. ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย. กรมการขนส่งทางบก, กรุงเทพฯ. 346 หน้า.

กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 1-4.

ณรงค์ ป้อมหลักทอง ประกาย ธีระวัฒนากุล ระพี ผลพานิชย์ และรัตติยา ภูละออ. 2549. แนวทางการพัฒนากำลังคนเชิงคุณภาพให้เพียงพอและตรงตามความต้องการของระบบโลจิสติกส์. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 20 หน้า.

ธงชัย สันติวงษ์ และชัยยศ สันติวงษ์. 2546. พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. โรงเจริญพิมพ์พัฒน์, กรุงเทพฯ. 159 หน้า.

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548. โครงการพัฒนาฐานข้อมูลภาพรวมต้นทุนและมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ระยะที่ 1. สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 172 หน้า.

สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. 2554. บทสรุปผู้บริหาร โครงการศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายการขนส่งสินค้าอันตราย สำหรับทุกภาคการขนส่งของประเทศ. สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, กรุงเทพฯ. 23 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 183 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2556. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ 2 (2556-2560). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 63 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2556. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 20 หน้า.

Blank, E.W. 1982. Handbook for Developing Competency - based Training Program. Prentice - Hall Publisher, New Jersey. 378 p.

Campbell, J. P. 1977. On the nature of organizational effectiveness. pp. 13-55. In P. S. Goodman, J. M. Pennings, & Associates (eds.). New perspectives on organizational effectiveness. Jossey-Bass, San Francisco.
Daft, R.L. 2001. Essentials of Organization: Theory and Design. South – Western College, Ohio. 213 p.

McClelland, D.C. 1973. Testing for Competence Rather than for Intelligence. American Psychologist. 28: 1-14.

Parry, S.B. 1997. Evaluating the Impact of Training. American Society for Training and Development, Virginia. 221 p.

Reddin, J. W. 1970. Managerial Effectiveness. Mc.Graw – Hill, Tokyo. 352 p.

Rylatt, A and K. Lohan. 1995. Creating Training Miracles. Prentice Hall, Sydney. 344 p.

Thompson, S.K. 2002. Sampling. Second edition. Wiley, New York. 444 p.