การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์อุตสาหกรรมการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงระดับขั้นเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจแปรรูป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงและประเมินผลการดำเนินงานด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ในระดับขั้นเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจแปรรูป (โรงสี) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกร จำนวน 16 ราย และกลุ่มวิสาหกิจแปรรูป (โรงสี) จำนวน 8 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกประเภทข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าโซ่อุปทาน ประกอบด้วย เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจแปรรูป (โรงสี) ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค ส่วนผลการดำเนินงานด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ พบว่าปริมาณสินค้าในแต่ละระดับขั้นมีไม่เพียงพอกับความต้องการ สินค้าเสียหายในระหว่างการจัดเก็บ และมีสินค้าด้อยคุณภาพถูกส่งคืนจากลูกค้า ข้อเสนอแนะคือ เกษตรกรควรได้รับการพัฒนาความรู้เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่และเทคนิคการลดความสูญเสียในการปลูกข้าวและการเก็บรักษา ส่วนกลุ่มวิสาหกิจแปรรูป (โรงสี) ควรเป็นหน่วยงานหลักในโซ่อุปทาน เพื่อร่วมกันวางแผนและพยากรณ์ปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ และควรมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวดในกระบวนการตรวจรับวัตถุดิบ การบรรจุ และการเก็บรักษา
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ทำนอง ชิดชอบ. 2554. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออกของสหกรณ์เกษตรอินทรีย์บ้านตระแสง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร. 13(2): 1-8.
พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. 2550. ประสิทธิภาพโลจิสติกส์ข้าวไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://www.logex.kmutt.ac.th/bt/bt32.html (8 ตุลาคม 2556).
ยรรยง เฉลิมแสน. 2556. การใช้แนวทางนิเวศวิศวกรรมในการจัดการศัตรูข้าวเพื่อการผลิตข้าวหอมนิลอินทรีย์บ้านทุ่งใหญ่ ต.นิคมพัฒนา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 63-70.
รุธิร์ พนมยงค์, สุวัฒนา จารุมิลินทไพฑูรย์, วราเดชสถิตวงศ์ และศิริวรรณ ไชยสูรยกานต์. 2550. การจัดหาและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบในโซ่อุปทาน. สำนักพิมพ์ Logistics Book. กรุงเทพฯ. 189 หน้า.
เริงศักดิ์ กระจ่างจันทร์. 2549. การจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงสีข้าวในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษา ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. 72 หน้า.
วรการ บัวนวล. 2548. การพัฒนาดัชนีชี้วัดสมรรถนะกระบวนการโลจิสติกส์ของโรงสีข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออกในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น
วัลลภ ทองอ่อน. 2558. กระบวนการเรียนรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยชุมชนบ้านหนองปิ้งไก่ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 123-131.
วุฒิไกร มีพัฒน์ อัจฉรัตน์ สุวรรณภักดี และอมรรัตน์ ถนนแก้ว. 2557.การศึกษาความพร้อมของโรงสีข้าวสังข์หยดใน จังหวัดพัทลุงเพื่อการพัฒนาเข้าสู่หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP). วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 6(2): 12-24.
ศุภชัย ปทุมนากุล กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ก่อพงษ์ พลโยราช ศิริลักษณ์ ศุทธชัย และจักรพันธ์ สุขสวัสดิ์. 2552. โซ่อุปทานสินค้าเกษตร: การจัดการซัพพลายเออร์. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.184 หน้า.
สนั่น เถาชารี และระพีพันธ์ ปิตาคะโส. 2555. การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัย มข. 17(1): 125-141.
สุภางค์ ฉันทวานิช. 2549. การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.177 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขต 9. 2555. ข้าวสังข์หยดพัทลุงข้าวที่ได้รับ GI พันธุ์แรกของไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www2.oae.go.th /zone9/rice_songyod/ (6 กันยายน 2556).
สำนักโลจิสติกส์. 2552. คู่มือการวินิจฉัยความสามารถทางด้านโลจิสติกส์. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ.
Koh, S. C. L., M. Demirbag, E. Bayrakter, E. Tatoglu, and S. Zaim. 2007. The impact of supply chain practices on performance of SMEs. Industrial Management & Data Systems 107(1): 103-124.
Lungtae, S. and C. Noknoi. 2012. Logistics and supply chain management of One Tambon One Product in Songkhla province: a case study of Koh Yo hand-woven fabric. European Journal of Social Sciences 29(4): 561-568.