การเสริมสร้างศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พลอยระดา ภูมี
วรวัฒน์ ทิพจ้อย
ณัฏฐนันธ์ สุวรรณวงก์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างศักยภาพของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและ 2) ศึกษาระดับความรู้และความพึงพอใจของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กิจกรรมที่ใช้ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นหลักสูตรระยะสั้น มีผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนจำนวน 31 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินผลความรู้ และแบบประเมินโครงการ  สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ มีระดับการรับรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยแยกในแต่ละประเด็น พบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น 2) การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ และ 3) ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและกฎหมายสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีระดับความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 78.92, 78.00 และ 84.30 ตามลำดับ) ส่วนความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีระดับความรู้อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 65.00) และความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มีระดับความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.40) การประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม พบว่า ในภาพรวมมีระดับความความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (=3.49)

Article Details

How to Cite
[1]
ภูมี พ., ทิพจ้อย ว. และ สุวรรณวงก์ ณ. 2018. การเสริมสร้างศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 249–260.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2554. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติพ.ศ. 2555-2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.tica.or.th/images/ plan_tourism2555-2559/2555-2559.pdf‎ (30 เมษายน 2555).

งามนิจ กุลกัน. 2556. การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม 14 (25): 18–30.

นงจฐศรมย์ สุวรรณพิมล สมจิต โยธะคง และพรชุลีย์ นิลวิเศษ. มปป. ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมการทำสมุนไพรของศูนย์กสิ กรรมสมุนไพรไท เขาขุนอินทร์ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, นนทบุรี. 12 หน้า.

ประโยชน์ ส่งกลิ่น. 2558.การจัดการการท่องเที่ยวท้องถิ่น กรณีศึกษาการจัดการท่องเที่ยวบ้านซะซอม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการเมืองการปกครอง (ประชาสังคม– การบริหารท้องถิ่นและการปกครองท้องถิ่น –นโยบายของรัฐ) 5(1): 105–117.

ปริวรรต สมนึก. 2555. การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภูกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม. วารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 8(1): 1–36.

พิมพรรณ รังสิกรรพุม. 2553. การจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นโดยชุมชนบนพื้นที่สูงตำบลทุ่งสมออำเภอเขาค้อจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชนบูรณ์, เพชรบูรณ์. 73 หน้า.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2555. รายงานผลการศึกษาการประชาสัมพันธ์โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยหลวง – หนองหานกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานีโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี; อุดรธานี,หน้า 22 – 91.

อรจนา จันทรประยูร, วราภรณ์ดวงแสง, อนุวัตเชื้อเย็น, วลัยลดาถาวรมงคลกิจ, วัชรีวรรณศศิผลินและนายวิวัฒน์ประสานสุข. 2554. การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลป่าไผ่อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่. งบประมาณวิจัยของคณะพัฒนาการท่องเที่ยวประจำปี 2554, มหาวิทยาลัยแม่โจ้; เชียงใหม่,หน้า 31 – 49.

อระนุช โกศล และโชคชัย สุทธาเวศ. 2557. การจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารการเมืองการปกครองประเด็นปัญหาปัจจุบันในอาเซียน, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1กันยายน 2556–กุมภาพันธ์; มหาสารคาม, หน้า 220 – 232.