การวิเคราะห์ศักยภาพของเจ้าหน้าที่เกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อการวางแผนพัฒนาที่เหมาะสม

Main Article Content

อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
ชลิดา ทุกข์สูญ

บทคัดย่อ

บทความนี้ นำเสนอผลการวิเคราะห์ศักยภาพของเจ้าหน้าที่เกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2 อำเภอในจังหวัดตาก และการออกแบบแผนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เหมาะสม โครงการวิจัยนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่เกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  5 คน จาก  5  ตำบล และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 114 คน จาก 5 ตำบล ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน โดยการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ศักยภาพโดยการวิเคราะห์คุณลักษณะ การวิเคราะห์ความเหมือน/ความแตกต่าง และการวิเคราะห์ SWOT ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของเจ้าหน้าที่เกษตรใน 5 ตำบล คือ ความสามารถในการจัดทำแผนพัฒนาการผลิตข้าวที่สอดคล้องกับศักยภาพ และปัญหาของเกษตรกร มีข้อจำกัด คือ ขาดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านการผลิตข้าว ศักยภาพและปัญหาของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ถูกนำมาใช้ในการวางแผนให้เหมาะสม โดยนำศักยภาพที่กลุ่มเกษตรกรมีอยู่มาใช้เป็นฐานในการแก้ไขปัญหา ได้แก่องค์ความรู้ในการผลิตข้าวที่สามารถถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดแผนพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่เหมาะสมขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
โอภาสพัฒนกิจ อ. และ ทุกข์สูญ ช. 2018. การวิเคราะห์ศักยภาพของเจ้าหน้าที่เกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อการวางแผนพัฒนาที่เหมาะสม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 200–211.
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. 2553. คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน, กรุงเทพฯ. 25 หน้า.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. นโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 16 หน้า.

คณะกรรมการหลักสูตรและคณะทำงานผลิตวิชากรมส่งเสริมการเกษตรและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2555. แนวทางการศึกษาวิชาการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตรและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ. 67 หน้า.

ชัชรี นฤทุม. 2551. การพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 148 หน้า.

นรา ศรีวงษา และจีรวัฒน์ เจริญสุข. 2557. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครอง 4(2): 296-313.

ศิริขวัญ อุทา. 2546. กระบวนการจัดทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 100 หน้า.

สุพิมล ขอผล จินตวีร์พร แป้นแก้ว ธณัชช์นรี สโรบล สมพร สิทธิสงคราม สายัณห์ ชัยศรีสวัสดิ์ สุมาลี ชัยศรีสวัสดิ์ และประจวบ หน่อศักดิ์. 2557. การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนหมู่บ้านหนองเต่าคำใหม่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 313-324.