ทางเลือกภายใต้ระบบพันธสัญญาของเกษตรกรผู้ปลูกพืชอินทรีย์ ในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ภัทรพรรณ ทำดี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางเลือกในการตอบสนองต่อระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกรผู้ปลูกพืชอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับเกษตรกรที่เคยมีประสบการณ์การทำเกษตรกรรมแบบอินทรีย์ภายใต้ระบบพันธสัญญาในจังหวัดนครปฐม จำนวน 21 ครัวเรือน  ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรต่างมีวิธีการจัดการเพื่อให้ตนเองอยู่รอดในระบบพันธสัญญาในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทั้งการตัดสินใจยุติบทบาทในระบบพันธสัญญาเพื่อปลดแอกตัวเองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ และแสวงหาทางเลือกใหม่ที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ในขณะที่เกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งตัดสินใจที่จะปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดต่อไปในระบบพันธสัญญา โดยพยายามต่อรอง และหาวิธีจัดการกับบริษัทที่เข้ามาเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งการที่เกษตรกรจะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดขึ้นอยู่กับการประเมินฐานทรัพยากรที่ตนมีอยู่ทั้งทรัพยากรในระดับกลุ่ม และทรัพยากรในระดับบุคคล หากต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ในระบบดังกล่าว จึงจำเป็นต้องสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอต่อการปรับตัว ทั้งในแง่องค์ความรู้ เครือข่าย และกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำเกษตรในระบบอินทรีย์และระบบพันธสัญญา

Article Details

How to Cite
[1]
ทำดี ภ. 2018. ทางเลือกภายใต้ระบบพันธสัญญาของเกษตรกรผู้ปลูกพืชอินทรีย์ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 171–187.
บท
บทความวิจัย

References

จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และพรสิริ สืบพงษ์สังข์. 2557. คู่มือการทำเกษตรพันธสัญญา: สิ่งที่เกษตรกรควรรู้และพึงระวัง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 52 หน้า.

ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ. 2558. การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรรมบนที่สูง อำเภอ สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 299-307.

บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ ช่อผกา ม่วงสุข และประทานทิพย์ กระมล. 2549. เกษตรพันธะสัญญากับโอกาสการพัฒนาของเกษตรกรรายย่อย. หน้า 97-108
ใน: รายงานการประชุมวิชาการ ศวพก. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เบญจพรรณ เอกะสิงห์ จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และ พรสิริ สืบพงษ์สังข์. 2555. ความเสี่ยงในการเกษตรระบบพันธะสัญญาในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน: ผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย ความเชื่อมโยงต่อนโยบายสาธารณะ. ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 41 หน้า.

เพ็ญศิริ พันพา. 2555. เกษตรพันธะสัญญา: กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลำปาง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.cislampang.com/wp-content/uploads/2012/05/บทความวิจัย-อ.หนึ่ง.pdf (28 มีนาคม 2558).

ยลลดา ปิ่นเพชร. 2555. มาตรการทางกฎหมายเพื่อนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการค้าสินค้าการเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, ชลบุรี. 133 หน้า.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. 2557. การทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming). (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://jpp.moi.go.th/ detail.php?section=11&id=72 (28 เมษายน 2558)

Sherpherd, A.W. 2013. An Introduction to Contract Farming. (Online). Available: http://makingtheconnection.cta.int/sites/default/files/Contract-Farming-Introduction.pdf (10 April 2015).

Giddens, A. 1984. The Constitution of Society: Outline of the Theory of Structuration. University of California Press, Berkeley.

Minot, N. 2007. Contract Farming in Developing Countries: Patterns, Impact, and Policy Implications. Case study # 6-3. In: P. Pinstrup - Anderson and F. cheng (eds.). Food Policy for Developing Countris: The Role of Government in the Global Food System. Cornell University, Ithaca, New York.

Sriboonchitta, S. and A. Wiboonpoongse. 2008. Overview of Contract Farming in Thailand: Lessons Learned. ADB Institute Discussion Paper No.112 (July, 2008). Asian Development Bank Institute, Tokyo, Japan.