ประสิทธิผลการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน

Main Article Content

ปรารถนา มินเสน
ภาคภูมิ ดาราพงษ์

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบ ประสิทธิผลจากการให้ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่มชุมชนเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียนใน 3 โครงการได้แก่  1. เรื่อง ”แนวปฏิบัติมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย” 2. เรื่อง “บรรจุภัณฑ์และการพัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตร” และ 3. เรื่อง “แนวทางการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชน” ซึ่งแต่ละโครงการจะมีประเด็นอบรมย่อย แยกเป็นอีก 6 ประเด็น ตัวอย่างวิจัยเป็นตัวแทนจากกลุ่มชุมชนเกษตรกร จำนวน 20 กลุ่ม จาก 17 ตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยสมัครใจเข้าร่วมอบรม ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และมีการวิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis อีกทั้งมีการประเมินประสิทธิผลการจัดการความรู้ โดยจากแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการจัดกิจกรรมในแต่ละประเด็นย่อยของแต่ละโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Matched Pairs Signed Rank Test


            ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจในแต่ละประเด็นย่อยทั้ง 6 ประเด็น ใน 3 โครงการ ของการวิจัยประสิทธิผลการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่มชุมชนเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม ทุกประเด็นย่อยของการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
[1]
มินเสน ป. และ ดาราพงษ์ ภ. 2019. ประสิทธิผลการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 1 (ม.ค. 2019), 35–46.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2558. แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ.2556 – 2559. (ออนไลน์). แหล่งที่มา
www.udonthani.doae.go.th/files/แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตร%20%20พ.ศ.2556-2559.pdf
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. 2546. การบริหารเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. 2545. SWOT การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน. อุบลราชธานี: คณะ เกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันชุมชน ท้องถิ่นพัฒนา.
ปรารถนา มินเสน. 2560. ความรู้ความเข้าใจในการสร้างแผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่
ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 15(1): 93-101.
พัชรี สุริยะ. 2556. ศักยภาพการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community: AEC). วารสารแก่นเกษตร 41(2): 101-106.
สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ. 2556. ประชาคมอาเซียน...โอกาส หรือ ความเสี่ยงสำหรับ SMEs.
วารสารเศรษฐกิจและสังคม 50(2): 19-23.