การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบส่วนประสมทางการตลาด ประเมินศักยภาพทางการตลาด และหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดอุดรธานี โดยมีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแหล่งท่องเที่ยว และ3) ผู้เชี่ยวชาญ รวมเป็นจำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดอุดรธานีมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น การส่งเสริมการตลาดเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวต่ำ บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการให้บริการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยแหล่งท่องเที่ยวหลุมขุดค้นทางโบราณคดี  วัดโพธิ์ศรีในมีศักยภาพทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุดมีค่าเท่ากับ 160 แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์คือ ร่วมกันค้นหาและสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว จัดรายการนำเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ปรับปรุงป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยว รักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
เวชชนินนาท ว. 2018. การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 375–388.
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. 2558. สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวเดือนมีนาคม 2558. กระทรวงการท่องเที่ยวและ กีฬา, กรุงเทพฯ. 34 หน้า.

กฤษฎา พิณศรี พนา จินดาศรี และอลงกต เพชรศรีสุก. 2550. การศึกษาศึกษาศักยภาพแหล่งโบราณสถานวัฒนธรรมล้านช้างในอีสานใต้เพื่อการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์. 154 หน้า.

จุมพล พลูภัทรชีวิน. 2548. ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วย EDFR. วารสารบริหารการศึกษา 1(2): 19-31.

นิจกานต์ หนูอุไร และเกิดศิริ เจริญวิศาล. 2557. การตลาดอย่างยั่งยืนสำหรับการท่องเที่ยว. นักบริหาร 34(2): 3 - 16.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2549. การพัฒนาและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว. เพรส แอนด์ ดีไซน์, กรุงเทพฯ. 390 หน้า.

ปัทมา สารสุข. 2555. การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีชุมชนชาวมอญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 3(2): 60-71.

วัชรี หิรัญพันธุ์ พิภพ สมเวที และชนกันต์ หิรัญพันธ์. 2549. แนวทางการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการขาย และจิตวิทยาการนำเสนอผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต. 185 หน้า.

สุวิภา จำปาวัลย์ และธันยา พรหมบุรมย์. 2558. แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนมีส่วนร่วมเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 5-16.

สํานักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. 2556. แผนความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (พ.ศ.2557 - 2560) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (อุดรธานี เลย หนองบัวลําภูหนองคาย บึงกาฬ), อุดรธานี. 57 หน้า.

อิราวัฒน์ ชมระกา. 2554. แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 3 (4): 65-80.

Chaudhary, M. 2010. Tourism Marketing. Oxford University Press, New Delhi. 390 p.

Inkson, C. and L. Minnaert. 2012. Tourism Management: An Introduction. SAGE, Los Angeles. 432 p.

Kotler, P, J.T. Bowen and J.C. Makens. 2014. Marketing for Hospitality and Tourism. 6th ed. Pearson Prentice Hall, New Jersey. 630 p.

Middleton, T.C. Victor, A. Fyall, M. Morgan and A. Ranchhod. 2009. Marketing in Travel and Tourism. Butterworth – Heinemann, Oxford. 427 p.

Morrison, A. M. 2002. Hospitality and Travel Marketing. Delmar/Thomson Learning, New York. 625 p.