“สวัสดิการชุมชน” ความสมดุลระหว่างการให้และการรับ

Main Article Content

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์

บทคัดย่อ

สวัสดิการชุมชนเป็นสวัสดิการที่จัดขึ้นโดยชุมชนบนพื้นฐานของการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชน ดังนั้นสวัสดิการชุมชนจึงเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นใจของคนในชุมชน ทั้งนี้การจัดสวัสดิการชุมชนโดยใช้ฐานทุนเดิมของชุมชนและการจัดสวัสดิการชุมชนที่มีหน่วยงานเข้าไปสนับสนุนต่อยอดจากฐานทุนเดิมของชุมชนได้ทำให้เกิดการตื่นตัวในการจัดสวัสดิการชุมชนที่กว้างขวางขึ้น ขณะที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ยังช่วยหนุนเสริมการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนในการสร้างความเป็นดีอยู่ดีของชุมชนอีกด้วย กระนั้นแนวคิดสวัสดิการชุมชนดังกล่าวข้างต้นจะไม่มีคุณค่าอันใดเลย หากไม่มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะในบริบทของการจัดการชุมชน ซึ่งคาดหวังให้คนในชุมชนสามารถจัดสวัสดิการได้อย่างครอบคลุมทุกคนและทุกช่วงวัย โดยมีสวัสดิการเริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งยังเกิดแนวทางใหม่เพิ่มขึ้นจากฐานทุนเดิม ที่สุดย่อมเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการให้และการรับของคนในชุมชนด้วยกัน ซึ่งช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
ปริญญาสุทธินันท์ อ. 2018. “สวัสดิการชุมชน” ความสมดุลระหว่างการให้และการรับ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 327–336.
บท
บทความวิจัย

References

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. 2550. สวัสดิการสังคมเพื่อคนด้อยโอกาส นโยบายว่าด้วยการกินดี อยู่ดี มีสุข มีสิทธิ. เอดิสันเพรส โปรดักส์, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.

กีรติ ยศยิ่งยง. 2550. การบริหารสังคม: แนวคิดและกระบวนการ พิมพ์ครั้งที่ 2. มิสเตอร์ ก๊อปปี้, กรุงเทพฯ. 263 หน้า.

เกวลี เครือจักร และ สุนทรี สุรัตน์. 2558. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคม และชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 161-171.

โกวิทย์ พวงงาม. 2554. ชุมชนท้องถิ่นสวัสดิการ: ข้อเสนอสวัสดิการสังคมมิติใหม่. หน้า 413-430. ใน: ภาวนา พัฒนศรี และคณะ (บก.). การประชุมวิชาการสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดับชาติ ประจำปี 2554. เจปริ้นท์, กรุงเทพฯ.

จุฑารัตน์ แสงทอง. 2557. ผู้สูงอายุ: การเรียกคืน “คุณค่าในตนเอง” ผ่านบทบาทอาสาสมัคร. วารสารรูสมิแล 35(2): 81-92.

ชัยพร พิบูลศิริ. 2551. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรชุมชน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 48(1): 57-84.

ธนพัต ปลอดคง และวันชัย ธรรมสัจการ. 2556. แนวคิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่ผลที่เกิดขึ้นต่อสมาชิกและชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการและการผลิต ตำบลคลองเปียะ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 7(2): 65-73.

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ. 2552. วรรณกรรมปริทัศน์และการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง”สวัสดิการชุมชนในประเทศไทย”. พิสิษฐ์ ไทย ออฟเซต, กรุงเทพฯ. 110 หน้า.

พรรณทิพย์ เพชรมาก. 2554. สวัสดิการชุมชน: พลังการจัดการตนเองของชุมชน. หน้า 396-412. ใน: ภาวนา พัฒนศรี และคณะ (บก.). การประชุมวิชาการสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดับชาติ ประจำปี 2554. เจปริ้นท์, กรุงเทพฯ.

ยุวดี ไวทยะโชติ. 2555. ผู้สูงอายุ: คุณภาพชีวิตกับนโยบายเบี้ยยังชีพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 4(1): 133-140.

ระพีพรรณ คำหอม. 2557. สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4 (แก้ไขเพิ่มเติม). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 360 หน้า.

วิชุลดา มาตันบุญ. 2550. การจัดการกองทุนชุมชนในชนบท: กรณีศึกษาชุมชนพื้นราบ. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่. 120 หน้า.

สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์. 2558. การจัดการความรู้ด้านการออกกำลังกายแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 185-194.

สโรชพันธุ์ สุภาวรรณ์ และ ชไมพร กาญจนกิจสกุล. 2557. การประกอบสร้างภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์ 10(1): 93-136.

สันติ ถิรพัฒน์ อนันต์ชัย คงจันทร์ และเสกสรร เกียรติ สุไพบูลย์. 2555. ความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชน. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ 34(134): 1-28.

สุธิดา แจ้งประจักษ์. 2557. รูปแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 22(38): 25-49.

สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์. 2556. องค์กรการเงินชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 4(2): 148-160.

สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย และ สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล. 2555. ปัญหาการจัดการกองทุนการออมและสวัสดิการชุมชน. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทัศน์ 6(1): 107-133.

อาแว มะแส. 2555. การจัดสวัสดิการชุมชนผ่านกลุ่มออมทรัพย์: ทางเลือกในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในชนบทไทย. วารสารพัฒนาสังคม 14(2): 19-38.