แนวทางในการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักปลอดสารพิษของวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

สุจิตราภรณ์ จุสปาโล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานและหาแนวทางในการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักปลอดสารพิษของวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
กลุ่มตัวอย่างคือ ประธาน สมาชิก  แกนนำวิสาหกิจชุมชน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทศบาลตำบลเขารูปช้าง และสำนักงานเกษตรจังหวัด  เครื่องมือวิจัย เป็นการสำรวจ  การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อหาความสัมพันธ์ของคำตอบทั้งหมดตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการศึกษา พบว่า ควรมีแนวทาง ดังนี้ คือ 1) ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตผักปลอดสารพิษตามกระบวนการผลิตมาตรฐาน GAP และแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน  2) เพิ่มการสื่อสารโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษมากขึ้น ทั้งด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และแหล่งจำหน่ายโดยใช้สื่อที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ต้องมีการบริหารให้สินค้าสามารถกระจายเข้าถึงผู้บริโภคทุกระดับ 3) การวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับฤดูกาลเพื่อรักษากลไกด้านการตลาด 4) การสร้างพันธมิตรทางการตลาด เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าและกำหนดราคากลางร่วมกัน  เพื่อส่งเข้าสู่ตลาดใหญ่

Article Details

How to Cite
[1]
จุสปาโล ส. 2018. แนวทางในการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักปลอดสารพิษของวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 155–162.
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญกมล ดอนขวา. 2556. การจัดการธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี, นครราชสีมา.142 หน้า.

เทียน เลรามัญ. 2558. การบริหารจัดการกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 309 - 318.

นันต์ธนา พรแสงสุวรรณ์ .2553. รูปแบบการส่งเสริมผักไฮโดรโพนิกส์ในชุมชนบ้าน หนองจอกตําบลบ้านปทุม อําเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี.รายงานฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. 85 หน้า.

Khamanarong S. 2000. Efective administration of SMEs promotion in reginal development. Humanities and Social Sciences 18(1): 1-18.

Khamanarong S and K. Khamanarong. 2008. The distribution management of Thai industrial product in europe. Humanities and Social Sciences 25(1): 112 - 129.

Thummasang, S. 2013. Business Administration of Hydroponic Vegetable in the Northeast and The Development to Industry. (Online). Available: https://www.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/.../262 (January 18, 2013)

Sumanansorn, W. 2011. Fresh Vegetables Supply Chain Management for Restaurants. Master of Science (Agro-Industry Technology Management), Kasetsart University, Bangkok. 229 p.