ความพึงพอใจในการดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพ เพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุ บ้านดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

นัยนา แซ่แต้
ประภาพร ยางประยงค์

บทคัดย่อ

ความพึงพอใจในการดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพ เพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุ บ้านดอนประดู่ อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน 295 คน เพื่อวัดระดับและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพ เพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยแบ่งเป็น 7 ด้านคือมาตรฐานของการบริการ การกำหนดข้อมูลข่าวสารและการเปิดเผย ทางเลือกในการปรึกษาหารือ ความสุภาพและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเข้าใจในการแก้ไขข้อผิดพลาด ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า และสถานที่และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้แบบสอบถามปลายปิด เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ทางสถิติ ในรูปแบบร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที-เทสต์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความพึงพอใจในการดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพฯ ผู้สูงอายุมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าความพึงพอใจเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.19 และเมื่อแยกเป็นรายด้าน ค่าความพึงพอใจเฉลี่ย เท่ากับ 4.37, 4.25, 4.24, 4.30, 4.23, 4.17 และ 3.76 ตามลำดับ และ (2) ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพฯ ตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ พบว่าระดับความพึงพอใจในภาพรวมมีค่าไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านทางเลือกในการปรึกษาหารือ โดยผู้สูงอายุ ช่วง 80-89 ปี มีความพึงพอใจในระดับที่ต่ำกว่าผู้สูงอายุในช่วงอายุอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
[1]
แซ่แต้ น. และ ยางประยงค์ ป. 2018. ความพึงพอใจในการดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพ เพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุ บ้านดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 89–98.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2558. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม 1/2558. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรุงเทพฯ. 18 หน้า.

เกวลี เครือจักร. 2558. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคมและชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 161 – 172.

ดวงใจ คำคง. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา. 132 หน้า.

ธนัตถ์วนันท์ เอียดพวง. 2554. การประเมินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก. สารนิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพฯ. 211 หน้า.

ยุวดี ไวทยะโชติ. 2555. ผู้สูงอายุ: คุณภาพชีวิตกับนโยบายเบี้ยยังชีพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 4(1): 133 - 140.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2557. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. สำนักงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรุงเทพฯ. 14 หน้า.

สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. 2552. รายงานผลการประชุมสัมมนา ผู้สูงอายุระดับชาติ ปี ๒๕๕๒ เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,กรุงเทพฯ. 70 หน้า.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ. 2555. การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในระดับตำบลอย่างมีส่วนร่วม. รายงานวิจัย. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรุงเทพฯ. 180 หน้า.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2557. รายงานผลเบื้องต้น สำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 70 หน้า.

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนประดู่. 2555.แผนพัฒนาสามปี (2555-2558) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนประดู่, พัทลุง. 48 หน้า.

Jitapunkul, S. and S. Wivatvanit. 2008. National Policies and programs for the aging population in Thailand. Aging International. 33(1): 62-74.

Jitramontree, N. and S. Thayansin. 2013. Social welfare for older persons in Thailand: Policy and recommendation. Journal of Public Health and Development 11(3): 39-46.

Yamane, T. 1967. Statistics: An introductory analysis. 2 nd ed. Harper & Row, New York. 919 p.