การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กมลศํกดิ์ วงศ์ศรีแก้ว
จิระพงค์ เรืองกุน
สายใจ ชุนประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งของชุมชน และข้อเสนอเพื่อการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งไปสู่ชุมชนยั่งยืน โดยอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ศึกษา รวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้านในชุมชน ประกอบกับการสนทนากลุ่มประธานโครงการพื้นที่สุขภาวะ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเพิ่มเติม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะชุมชนเข้มแข็งของชุมชนพูนบำเพ็ญสะท้อนได้จากความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน ความมั่นคงปลอดภัยของชุมชน การมีวิสัยทัศน์ของชุมชน และความรักและหวงแหนชุมชน โดยมีปัจจัยที่นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนพูนบำเพ็ญ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงสังคมแบบเครือญาติ ลักษณะการเรียนรู้เพื่อชีวิตของคนในชุมชน เครือข่ายของชุมชน ผู้นำตามธรรมชาติ และลักษณะเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของชุมชน ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาชุมชนพูนบำเพ็ญไปสู่ชุมชนยั่งยืน ได้แก่ สานต่อการอนุรักษ์พื้นที่เกษตร ปลูกจิตสำนึกผู้เข้ามาใหม่ การสรรสร้างกิจกรรมการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการประชาสัมพันธ์ชุมชนเชิงรุก และมุ่งเฟ้นหากลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ สร้างเครือข่ายสานต่อภารกิจ

Article Details

How to Cite
[1]
วงศ์ศรีแก้ว ก., เรืองกุน จ. และ ชุนประเสริฐ ส. 2018. การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 46–57.
บท
บทความวิจัย

References

ดลฤดี จันทร์แก้ว และ วรินดา สุทธิพรม. 2559. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 188-199.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. 2559. กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 29(2): 31-48.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. 2551. พลวัตรของแนวคิดและปฏิบัติการพัฒนาชุมชน. วารสารพัฒนาสังคมและชุมชน 1(1): 29-54.

ปัญญา เทพสิงห์ และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. 2556. แนวทางการฟื้นฟูชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 30(2): 43-64.

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. 2553. กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบปัจจัยและตัวชี้วัด. รัฐประศาสนศาสตร์ 8(2): 119-158.

วิสุทธิ์ ใบไม้. 2558. เครือข่ายการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences 16(2): 253-267.

สมบูรณ์ ธรรมลังกา. 2556. รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 15(2): 58-66.

สุปราณี จันทร์ส่ง บุญทัน ดอกไธสง สอาด บรรเจิดฤทธิ์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. 2558. การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 10(3): 273-283.

Creswell, J. W. 2009. Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. SAGE Publications, Thousand Oaks, CA. 273 p.

Holiday, A. 2002. Doing and Writing Qualitative Research. SAGE Publications, Thousand Oaks, CA. 211 p.

Miles, M. B., A. M., Huberman, and J., Saldaña. 2013. Qualitative Data Analysis: A Methods Sourcebook 3rded. SAGE Publications, London. 408 p.

Srinivas, H. 2003. The Five Es of Sustainability. (Online). Available: http://www.gdrc.org/sustdev/indicators.html (September 5, 2015)