การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบหมู่บ้าน วัฒนธรรมเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธงชัย ภูวนาถวิจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเวียงท่ากาน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวยอง เขิน และชาวโยนเวียงท่ากาน และแนวทางการวางแผนพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมด้วยการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากมิติภายในสู่ภายนอก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผสมผสานเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการณ์และแบบสอบถามจากประชาชนในเวียงท่ากาน วิเคราะห์เนื้อหาและสถิติวิเคราะห์ จากการศึกษา พบว่าเวียงท่ากาน เป็นเมืองโบราณ มีอายุราว 1,300 กว่าปี สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่13 ในรัชสมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญไชย มีทุนทางวัฒนธรรมที่นำมาสร้างกิจกรรมและบริหารจัดการการท่องเที่ยวในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมได้ 7 ด้าน คือ 1) ประวัติศาสตร์ 2)  ชาติพันธุ์ 3)  โบราณสถาน 4)  โบราณวัตถุ 5)  วัฒนธรรม 6)  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชุมชน และ7) วิถีเกษตรกรรม มีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีแนวทางการวางแผนพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในระยะสั้น ได้แก่ 1)  การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านวัฒนธรรมเวียงท่ากาน 2) การสร้างกลุ่มโฮมสเตย์เวียงท่ากาน 3) การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตจาวยอง ส่วนระยะปานกลางได้แก่ 1)  การสร้างข่วงวัฒนธรรมจาวยองเวียงท่ากาน และ 2) การปรับปรุงภูมิทัศน์ ขุดลอกคูเมืองและสร้างสะพานข้ามคูเมือง ระยะยาว คือการอนุรักษ์และถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมให้กับเยาวชน

Article Details

How to Cite
[1]
ภูวนาถวิจิตร ธ. 2018. การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบหมู่บ้าน วัฒนธรรมเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 14–23.
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. 2558. สถิตินักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเวียงท่ากาน. สำนักศิลปากรที่ 8, เชียงใหม่. 2 หน้า.

ครรชิต พุทธโกษา. 2554. คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 21 หน้า.

ธงชัย ภูวนาถวิจิตร. 2553. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการบนเส้นทางยุทธศาสตร์ R3A (เชียงราย - คุณหมิง). วารสารสมาคมนักวิจัย. 15(3): 43 - 60.

ธงชัย ภูวนาถวิจิตร. 2557. การวางแผนจัดการการท่องเที่ยวชุมชนแบบยั่งยืนเพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่ม อำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. มนุษยศาสตร์สาร 15(2): 132 – 164.

ธงชัย ภูวนาถวิจิตร. 2558. แนวคิดสวัสดิการชุมชนบนฐานทรัพยากรชุมชน: ทางเลือกเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4(2): 65 – 94.

ธงชัย ภูวนาถวิจิตร. 2558. ศิลปะการจัดการเหมืองฝายลุ่มแม่น้ำผญาปัญญาคนยอง. CMUSR Magazine 3(3): 4-5.

นภัค วัฒนคุณ. 2545. ความต้องการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว: กรณีเวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 96 หน้า.

นิศรา จันทร์เจริญสุข. 2558. แนวทางการจัดการความรู้ของธุรกิจชุมชน บ้านกิ่วแลน้อยและและบ้านกิ่วแลหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 49 - 56.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. 2557. ประชาสัมพันธ์และขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองเชียงใหม่สู่เมืองนิเวศ (ECO Village) ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาเชียงใหม่เมืองน่าอยู่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http: // thainews.prd.go.th / web (23 กันยายน 2557)

สุรพล พรมกุล. 2554. ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 248 หน้า.

แสวง มาละแซม. 2544. คนยองย้ายแผ่นดิน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ. 182 หน้า.

Luigi, F.G. and N. Peter. 2009. Cultural Tourism and Sustainable Local Development. Ash gate Publishing Company Suite, England. 319 p.