กระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมร่วมสมัยไทยทรงดำ ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

วัฒนี รัมมะฟ้อ
นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การพัฒนาระยะเริ่มต้นของวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมร่วมสมัยไทยทรงดำ ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการขับเคลื่อน แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทของวิสาหกิจชุมชน 2) การลงพื้นที่จัดประชุมร่วมกับคณะกรรมการ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จัดกิจกรรมในพื้นที่ และ 3) การประชุมวิชาการของทีมวิจัย กระบวนทัศน์การพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนฯ ในระยะเริ่มต้น มุ่งเน้นการพัฒนาคน รวมถึงพัฒนาองค์กร โดยนำหลักคิดการพึ่งพาตนเอง และการรวมกลุ่มสร้างพลังอำนาจต่อรอง ใช้วิธีปฏิบัติที่ช่วยให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชน และประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนฯให้เกิดคุณค่าแก่ตนเอง อีกทั้งองค์กรด้วย จัดระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นำต้องมีศรัทธาในตนเองที่จะทำให้สำเร็จ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการสืบสานวัฒนธรรมจากการประยุกต์ภูมิปัญญาเดิม โดยเฉพาะลวดลายแตงโมที่เป็นเอกลักษณ์ลายผ้าพื้นบ้านของชาวไทยทรงดำ ก้าวไปสู่การตลาดเชิงวัฒนธรรม และใช้การจัดการความรู้สร้างคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์

Article Details

How to Cite
[1]
รัมมะฟ้อ ว., วิเศษสรรพ์ น. และ โชติคุณากิตติ ภ. 2018. กระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมร่วมสมัยไทยทรงดำ ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 2 (มิ.ย. 2018), 193–214.
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ เพ็ชรประเสร็ฐ และพิทยา ว่องกุล. 2545. วิสาหกิจชุมชนกลไกเศรษฐกิจฐานราก. เอดิสันเพรสโปรดักส์, กรุงเทพฯ. 262 หน้า.

นงนุช อิ่มเรือง และ สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. 2554. แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 4(2): 1 - 15.

นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ และฟ้าลั่น กระสังข์. 2557. นวัตกรรมเครื่องมือทางสังคมที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการออมทรัพย์ของชุมชนรางหวาย. รายงานผลการวิจัย. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี. 112 หน้า.

นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ ฟ้าลั่น กระสังข์ และ ธนินท์ ศิริวรรณ. 2558. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างระบบแลกลไกการออมทรัพย์ของชุมชนไทยทรงดำ ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี.

ประเวศ วะสี. 2542. เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมแนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. หมอชาวบ้าน, กรุงเทพฯ. 89 หน้า.

ฟ้าลั่น กระสังข์. 2556. นวัตกรรมการพึ่งตนเองด้านอาหาร ของกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง รายงานวิจัย. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี. 74 หน้า.

มะลิวรรณ์ กิจชัยเจริญ สุภาวดี ศรีแย้ม จิรรัชต์ กันทะขู้ และบุษบา มะโนแสน. 2557. การพัฒนาศักยภาพด้านการแปรรูปมะไฟจีนของกลุ่มแปรรูปมะไฟจีน ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 333 - 341.

สุกัญญา ดวงอุปมา ภัทราพร ภาระนาค และปารีณา แอนเดอร์สัน. 2559. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 212 - 223.

สุพัฒน์ ไพใหล. 2556. กระบวนทัศน์พัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองของกลุ่มเครือข่ายอินแปง ในจังหวัดสกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ 3(2): 37 - 50.

สุวิภา จำปาวัลย์ และธันยา พรหมบุรมย์. 2558. แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 5 - 16.

เสรี พงศ์พิศ. 2551. แนวคิดแนวปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. พลังปัญญา, กรุงเทพฯ. 181 หน้า.

อภิสิทธิ์ พรมชัย และศุภลักษณ์ สุวรรณะชฎ. 2554. ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านห้วยกาน. วารสารการบริหารท้องถิ่น 4(2): 16 - 29.

Capra, F. 1986. The concept of paradigm and paradigm shift. Revision (Journal of Consciousness and Change) 9: 11 - 17.

Kuhn, T.S. 1962. International Encyclopedia of Unified Science: the structure of scientific revolution. 2nd ed. University of Chicago press, Chicago. 222 p.