ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้ของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เกศสุดา สิทธิสันติกุล

บทคัดย่อ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมในชุมชนท้องถิ่น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของ อปท. ด้านการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้ของชุมชนท้องถิ่น และศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาการดำเนินงานของ อปท. ด้านการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้ของชุมชนท้องถิ่น โดยบทบาทสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการอนุรักษ์ประกอบไปด้วยบทบาทด้านการบริหารจัดการและบทบาทด้านการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับ อปท. 6 แห่งใน อ.ดอยสะเก็ด และ อ. แม่ออน จ.เชียงใหม่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ chi-square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทหน้าที่ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านชุมชน – การมีส่วนร่วม ศักยภาพชุมชน ผู้นำชุมชน ความเข้มแข็งของเครือข่ายอนุรักษ์ 2) ปัจจัยด้านบุคลากรในองค์กร – ความมีจิตอาสา ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ ความทุ่มเท 3) ปัจจัยด้านผู้นำขององค์กร – ความมีวิสัยทัศน์ การให้ความสำคัญ ความตั้งใจและมุ่งมั่น ทักษะการจัดการ และ 4) ปัจจัยด้านอื่น ๆ – การสนับสนุนด้านปฏิบัติการ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทหน้าที่ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยชุดเดียวกับด้านการบริหารจัดการ ยกเว้นปัจจัยด้านความรู้ของบุคลากรในองค์กร การสนับสนุนด้านปฏิบัติการ และการสนับสนุนจากบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีผลต่อการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนข้อคิดเห็นด้านการพัฒนาการดำเนินงานของ อปท. ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร การพัฒนาบุคลากร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การปรับกลยุทธ์การสนับสนุนชุมชน และการพัฒนาฐานข้อมูลที่จำเป็น ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
[1]
สิทธิสันติกุล เ. 2018. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้ของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 3 (มิ.ย. 2018), 586–609.
บท
บทความวิจัย

References

ดาวส่องแสง แต้เฮง. 2558. การพัฒนารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษาเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(2): 17-32.

บุญชม ศรีสะอาด. 2535. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุวิริยาสาส์น, กรุงเทพฯ. 168 หน้า.

บูชิตา สังข์แก้ว. 2559. บทสำรวจวรรณกรรมสากลเพื่อการคิดทบทวน: การพัฒนาการกระจายอำนาจและนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4(1): 1-17.

ปรีชา สุวรรณภูมิ สุทธนู ศรีไสย์ จินต์ วิภาตะกลัศ และสุพจน์ บุญวิเศษ. 2554. วารสารสมาคมนักวิจัย. 16(3): 102-117.

มุทิตา วรกัลยากุล. 2558. ความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลนครรังสิต ปทุมธานี. วารสารวิทยบริการ 24(1): 144-158.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2555. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. (ระบบออนไลน์).http://www.cmcity.go.th/cmcity/images/document/KM_Law/Law0005.pdf. (5 เมษายน 2559).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (มปป). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. (ระบบออนไลน์). http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/SummaryPlan11_thai.pdf. (4 เมษายน 2559).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2548. คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, กรุงเทพฯ. 57 หน้า.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 2544. หนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กลุ่มงานการพิมพ์ สำนักเลขาวุฒิสภา, กรุงเทพฯ. 318 หน้า.

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. แผนปฏิบัติการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ตามแผนแม่บทพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ.
(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.fca16.com/uploaded/webmaster/files/Strategy%20Plan%20NPCO.pdf (5 เมษายน 2559).

สุชาวลี ชูเอน. 2555. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน. วารสารวิทยบริการ 23(3): 43-53.

สุรัสวดี ราชกุลชัย. 2543. การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร. จามจุรี, กรุงเทพฯ. 487 หน้า.

Agrawal, A. and E. Ostrom. 2001. Collective action, property rights, and decentralization in resource use in India and Nepal. Politics & Society 29(4): 485-514.

Hartter, J. and S. J. Ryan. 2010. Top-down or bottom-up?: Decentralization, natural resource management, and usufruct rights in the forests and wetlands of western Uganda. Land Use Policy 27(3): 815-826.

Larson, A. M. 2002. Natural resources and decentralization in Nicaragua: Are local governments up to the job?. World Development 30(1): 17-31.

Padgee, A., Y. Kim and P. J. Daugherty. 2006. What makes community forest management successful: a meta-study from community forests throughout the world. Society and Natural Resources 19(1): 33-52.

Schwartzman, S., A. Moreira and D. Nepstad. 2000. Rethinking tropical forest conservation: perils in parks. Conservation Biology 14(5): 1351-1357.

Whitman, E. M. and J. H. Mattord. 2013. Management of information security. 4th ed. Cengage Learning, United States. 565 pages.