แบบจำลองสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในประเทศไทย

Main Article Content

ปาณิสรา จรัสวิญญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาของเกษตรกร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 13 ราย จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางและภาคตะวันออก โดยการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างแบบเจาะลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการทฤษฎีฐานราก ซึ่งผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร สามารถอธิบายได้โดยการบูรณาการมุมมองบนพื้นฐานทรัพยากร และค่านิยมหลักเข้าด้วยกัน ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปัญหาค่านิยมหลักที่สำคัญ ได้แก่ การไม่เรียนรู้ ความโลภ และความเกียจคร้าน ซึ่งเป็นแรงขับที่สำคัญที่นำไปสู่ปัญหาด้านกระบวนการ (การทำเกษตรเชิงเดี่ยว และการทำเกษตรสารเคมี) และปัญหาด้านทรัพยากร อันเกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่ไม่เหมาะสมและการขาดแคลนทรัพยากรทางกายภาพ อันส่งผลให้เกิดผลลัพธ์คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ คือหนี้สินของเกษตรกร อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตสูงและราคาผลผลิตตกต่ำ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรจึงจำเป็นต้องดำเนินการเชิงระบบ ด้วยการให้ความสำคัญต่อทุกองค์ประกอบดังกล่าว

Article Details

How to Cite
[1]
จรัสวิญญ ป. 2018. แบบจำลองสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 1 (มิ.ย. 2018).
บท
บทความวิจัย

References

ณิชารีย์ ใจคำวัง. 2559. ผลกระทบทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการปลูกยาสูบของเกษตรกรตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 401-416.

นิตยา สามปาละ. 2554. การประเมินผลกระทบสุขภาพเบื้องต้นจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนลำไยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย 1(2): 5-12.

บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2558. รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 319-330.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. 2559. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 417-428.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2558. โครงการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานกองทุนในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.tdri.or.th/wp-content/uploads/2016/06/หนี้สินเกษตรกร.pdf (19 กรกฎาคม 2559).

สมนึก ปัญญาสิงห์ เศกสรรค์ ยงวณิชย์ และพุทธรักษ์ ปราบนอก. 2557. ตัวแบบการจัดการการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 11-22.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2559. ประเทศไทย 4.0. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/jul2559-5.pdf (25 กรกฎาคม 2559).

Amit, R. and P. J. Schoemaker. 1993. Strategic assets and organizational rent. Strategic Management Journal 14(1): 33-46.

Barney, J. B. 1986. Strategic factor markets: Expectations, luck, and business strategy. Management Science 32(10): 1231-1241.

Barney, J. 1991. Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management 17(1): 99-120.

Barney, J. B. 2001. Resource-based theories of competitive advantage: A ten-year retrospective on the resource-based view. Journal of Management 27(6): 643-650.

Evans, B. 2005. Best way to improve your performance: improve how you impart core values. Handbook of Business Strategy 6(1): 315-319.

Henderson, R. and I. Cockburn. 1994. Measuring competence? Exploring firm effects in pharmaceutical research. Strategic Management Journal 15(S1): 63-84.

Miles, M. B., A. M. Huberman and J. Saldaña. 2013. Qualitative Data Analysis: A Methods Sourcebook. SAGE, London. 381 p.

Miller, D. and J. Shamsie. 1996. The resource-based view of the firm in two environments: The Hollywood film studios from 1936 to 1965. Academy of Management Journal 39(3): 519-543.

Schroeder, R. G., K. A. Bates and M. A. Junttila. 2002. A resource‐based view of manufacturing strategy and the relationship to manufacturing performance. Strategic Management Journal 23(2): 105-117.

Talwar, B. 2009. Comparative study of core values of excellence models vis-à-vis human values. Measuring Business Excellence 13(4): 34-46.

Wernerfelt, B. 1984. A resource‐based view of the firm. Strategic Management Journal 5(2): 171-180.