การจัดการสังคมผู้สูงอายุของพื้นที่หุบเขาเมืองชิมานโตะ จังหวัดโคชิ ประเทศญี่ปุ่น

Main Article Content

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์
จิรพร ชมพิกุล
พลอยไพลิน รูปะวิเชตร์
ศรีจันทร์ ฟูใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการจัดการสังคมผู้สูงอายุเมืองชิมานโตะ จังหวัดโคชิ ประเทศญี่ปุ่น ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 13 คน เจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่น จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่องค์กร
จิตอาสา เมืองชิมานโตะ จังหวัดโคชิ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 7 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ ได้แก่ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องด้วยการประชุมระหว่างนักวิจัยชาวไทยและผู้ประสานงานการวิจัยชาวญี่ปุ่น ผลการวิจัยพบว่า เมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในหุบเขา
ชื่อชิมานโตะ จังหวัดโคชิประเทศญี่ปุ่น มีอัตราการเกิดที่ต่ำ แต่สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นและมีอายุยืนยาว การจัดการสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่ที่นี่จึงใช้การบริหารแบบองค์กรขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพและบูรณาการองค์กรต่าง ๆ มาทำงานร่วมกัน ด้วยการใช้ประโยชน์จากสถานที่ที่ออกแบบเพื่อคนหลายวัยและกลุ่ม คือ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก คนพิการ และคนยากจน โดยผ่านกระบวนการการจิตอาสาของคนในชุมชน รัฐบาลท้องถิ่นสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้ผู้สูงอายุได้ใช้ทำกิจกรรม เช่น ประกอบอาชีพทำเต้าหู้ ประชุมพบปะสมาชิก ต้อนรับแขกและแจ้งข่าวของหน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่นี่แม้มีอายุมากแต่มีความสุขกระตือรือร้นและอยู่แบบพึงตนเองและพึ่งพากันในกลุ่ม

Article Details

How to Cite
[1]
รูปะวิเชตร์ เ., ชมพิกุล จ., รูปะวิเชตร์ พ. และ ฟูใจ ศ. 2018. การจัดการสังคมผู้สูงอายุของพื้นที่หุบเขาเมืองชิมานโตะ จังหวัดโคชิ ประเทศญี่ปุ่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 1 (พ.ค. 2018), 22–43.
บท
บทความวิจัย

References

ชุติเดช เจียนดอน นวรัตน์ สุวรรณผ่อง ฉวีวรรณ บุญสุยา และนพพร โหวธีระกุล. 2554. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 41(3): 229-239.

ประภาพร ยางประยงค์ และนัยนา แซ่แต้. 2560. ความพึงพอใจในการดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพ เพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 89-98.

วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ วีนัส ลีฬหกุล พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร และวัฒนา พันธุ์ศักดิ์. 2554. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสภาการพยาบาล. 26(พิเศษ): 140-153.

สมหมาย กุมผัน โสภิณ แสงอ่อน และพัชรินทร์ นินทจันทร์. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 30(2):50-68.

สังวร ไกรฤกษ์. 2548. แก่อย่างเป็นสุข. วารสารคหเศรษฐศาสตร์ 48(2): 44-47.

อุทุมพร ศตะกูรมะ ผ่องลักษม์ จิตต์การุญ และชุมพล เสมาขันธ์ 2556. ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 7(1): 129-138.

Kawamori, M. 2015. Interlocal partnership for creating cross-generational care community. Paper presented in the International Seminar Among Researchers, 12 September, 2015, Graduate School of Human Science, Osaka University, Japan

Rupavijetra, P., J. Chompikul and P. Rupavijetra. 2016. Management of aging society in Kobe, Japan. Journal of Public Health and Development 14(2): 61-75.

He, W., D. Goodkind and P. Kowal. 2016. U.S. an Aging World: 2015. US Government Publishing Office, Washington, DC. 165p.